การออกแบบกราฟกจากอัตลักษณ์อีสานเพื่ออุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม

Main Article Content

ธนวัฒน์ ฝอยจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบกราฟิกจากอัตลักษณ์อีสานเพื่ออุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมโดยกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์งานศิลปหัตถกรรมอีสานสำหรับนำมาใช้ในการออกแบบ 2) เพื่อออกแบบกราฟิกจากอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมอีสาน 3) เพื่อนำผลงานการออกแบบกราฟิกจากอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมอีสานมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกรอบแนวคิดด้านการออกแบบ ยึดหลักการออกแบบกราฟิกตามทฤษฎีการออกแบบของ สมศิริ อรุโณทัย ได้แก่ หลักเอกภาพ หลักความสมดุล และหลักจุดสนใจ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีขอบเขตการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขอบเขตด้านพื้นที่ คือ การศึกษาศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและขอบเขตด้านเนื้อหาคือ การศึกษาศิลปหัตถกรรมอีสาน สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผู้วิจัยจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในการคัดเลือกศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปหัตถกรรมอีสานได้ตอบแบบสอบถาม เพื่อทำการคัดเลือกงานศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีที่มีความโดดเด่น ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ขันหมากอีสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมอีสานที่มีความโดดเด่นมากที่สุด หลังจากได้ผลสรุปแล้ว ผู้วิจัยได้ทดลองออกแบบกราฟิกที่ใช้แรงบันดาลใจจากขันหมากอีสาน และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยทดลองพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม

 

Esan Corporate Identity Graphic Design for Culture Industry

This research is a study of graphic design from Esan identity for cultural industry with 3 objectives as follows: 1) study and analyze the identity of Esan handcraft in order to apply the result to design, 2) create a graphic design from the identity of Esan handcraft and 3) apply the handcraft resulting from the graphic design from the identity of Esan handcraft to product design. The design conceptual framework is based on the graphic design principles according to Somsiri Arunothai’s design theory, namely, unity, balance and focus. This research is a qualitative research. On the research scopes, for the spatial scope, this is a study of Esan handcraft in Ubon Ratchathani, and for the content scope, it is a study of Esan handcraft. The research sample is Esan handcraft in Ubon Ratchathani. The researcher used the purposive sampling method in selecting Esan handcraft in Ubon Ratchathani and then created a questionnaire to be filled in by experts on Esan handcraft in order to select outstanding Esan handcraft in Ubon Ratchathani. For the summary of the research results, Esan gift tray (chianmaak) is the most outstanding Esan handcraft. After obtaining the summary, the researcher created a graphic design with inspiration from Esan gift tray (chianmaak) and developed it into a product, performing an experiment of developing a cultural product to correspond with the cultural industry.

Article Details

How to Cite
[1]
ฝอยจันทร์ ธ., “การออกแบบกราฟกจากอัตลักษณ์อีสานเพื่ออุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 159–168, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย