วิธีการใหม่สำหรับสร้างแผนภูมิจากไปเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่แน่นอนของ ข้อมูลในปัญหาการวางผังโรงงานแบบพลวัต

Main Article Content

ปกรณ์ ศรีอัมพรศานต์
วนิดา รัตนมณี

บทคัดย่อ

ระบบเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันกลุ่มโรงงานผู้ผลิตต้องมีความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองให้ทันตามความต้องการของผู้บริโภค แต่เนื่องจากความต้องการที่ผันผวนจึงไม่สามารถ คาดการณ์ความต้องการที่แน่นอนได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการไหลของข้อมูลในแผนภูมิจากไป โดย แผนภูมิจากไปคือเครื่องมือสำหรับแสดงการไหลของข้อมูล เช่น ปริมาณวัตถุดิบ จำนวนเที่ยวในการขนย้าย หรือค่าใข้จ่ายในการขนถ่าย เป็นต้น แผนภูมิจากไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบของการ ไหลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจสำหรับการวางผังโรงงาน โดยจะส่งผลให้ระบบการขนย้ายชิ้นงานมีประสิทธิภาพมากชิ้น นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตเนื่องจากความต้องการที่เปลี่ยนไปของ ผู้บริโภคยังส่งผลให้รูปแบบผังโรงงานที่เหมาะสมเปลี่ยนแปลงเช่นอัน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมุ่งนำเสนอวิธีการใหม่เพื่อแปลงข้อมูลแผนการผลิตซึ่งได้จากความต้องการของผู้บริโภคเป็นแผนภูมิจากไป เพื่อช่วยให้เกิดความ ยืดหยุ่นในการออกแบบผังโรงงานให้เหมาะสมตามแผนการผลิตที่เปลี่ยนไป ข้อมูลตัวอย่างเซิงตัวเลขได้ถูก นำมาใช้ในการทวนสอบความถูกต้องของวิธีการคำนวณ ซึ่งผลจากการทดสอบพบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถ แปลงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลคำตอบที่ได้จากวิธีการนี้ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการแกิใขปัญหา การวางผังโรงงานแบบพลวัตมากชิ้น

 

A New Approach to Generate From-To Chart for Solving Uncertainty Data in the Dynamic Plant Layout Problem

Today's world economy, manufacturing plant had to be able to respond quickly to change in product mix and demand. In addition, demand of customer was fluctuation data. With this uncertainty data, it is affected to the changing of flow data in from-to chart. The from-to chart was a tool, showing the data flow (volume, trip, cost) between facilities, for analyze the pattern of the data flow. It used for analysis the pattern of data flow which important to make a decision in plant layout for rearranging manufacturing facilities to improve the material handling efficiency. Moreover, the optimal plant layout is changed when manufacturing plan changed. Then, this study aims to introduce a new approach to convert the data of manufacturing plan from demand of customer to from-to chart. Using this approach, it may have flexibility for plant layout design. Numerical examples were used for verification. The experimental results shown that the proposed approach is effective to change the data. Thus, the solution data from this approach may be useful and flexible for solving dynamic plant layout problem (DPLP).

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีอัมพรศานต์ ป. และ รัตนมณี ว., “วิธีการใหม่สำหรับสร้างแผนภูมิจากไปเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่แน่นอนของ ข้อมูลในปัญหาการวางผังโรงงานแบบพลวัต”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 4, ฉบับที่ 1, น. 67–78, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย