การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังวัตถุดิบและลดต้นทุนการผลิต: กรณีศึกษาโรงงานอาหารสัตว์

Main Article Content

ศนิ มิเดหวัน
ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาปัญหาหลักของโรงงานอาหารสัตว์กรณีศึกษา เนื่องจากในปัจจุบันโรงงานไม่ได้นำหลักการบริหาร สินค้าคงคลังมาใช้ในแผนกจัดซื้อ จึงไม่มีการวางแผนการสั่งซื้อล่วงหน้า ส่งผลให้ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่มีราคาสูงกว่าการ สั่งซื้อตามแผนการ วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คือ การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการควบคุมระบบ ของคงคลังในส่วนของคลังวัตถุดิบ ภายใต้ความผันผวนของอุปสงค์และราคาของวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา โดยเวลานำในการสั่งซื้อ วัตถุดิบจากแต่ละแหล่งจำหน่ายไม่เท่ากัน ช่วงเวลาการสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมซึ่งพิจารณาจากต้นทุนรวมต่อปีต่ำ ที่สุดได้ถูกศึกษา ค่าพารามิเตอร์ต่างๆของโรงงานอาหารสัตว์กรณีศึกษาถูกวิเคราะห์โดยวิธีโปรแกรมเชิงพลวัต (Dynamic Programming) และนำผลที่ได้จากการใช้แบบจำลองมาเปรียบเทียบกับผลการสั่งซื้อจริงของโรงงานอาหารสัตว์กรณีศึกษาพร้อมทั้ง ทำการวิเคราะห์ความไวของค่าใช้จ่ายคงที่ในการสั่งซื้อต่อเดือน ค่าใช้จ่ายคงที่ในการสั่งซื้อจากแหล่งจำหน่ายเดียวกันต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายคงที่ในการเก็บรักษาวัตถุดิบต่อเดือน และค่าใช้จ่ายแปรผันในการเก็บรักษาวัตถุดิบต่อหน่วย

ผลการวิจัยพบว่าการสั่งวัตถุดิบในช่วงเวลาที่ต้องการใช้วัตถุดิบมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าน้อยแต่ไม่สามารถ หลีกเลี่ยงต้นทุนที่สูงขึ้นซึ่งเกิดจากช่วงเวลาที่วัตถุดิบมีราคาสูง การนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการ สั่งซื้อโดยเลือกสั่งซื้อวัตถุดิบในช่วงเวลาที่สินค้ามีราคาถูกโดยไม่ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้า แม้จะส่งผลให้ต้นทุนแปรผันในการ เก็บรักษาวัตถุดิบคงคลังเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาต้นทุนแปรผันในการสั่งซื้อวัตถุดิบลดลงมากกว่าต้นทุนแปรผันในการเก็บรักษา วัตถุดิบคงคลังที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นต้นทุนรวมต่อปีจึงลดลงโดยคิดเป็นร้อยละ 7.19 นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ความไวของพารามิเตอร์ จากการใช้แบบจำลองพบว่า ค่าใช้จ่ายคงที่ในการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายคงที่ในการเก็บรักษาต่อเดือนมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง ต้นทุนรวมมากที่สุด จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าควรนำแบบจำลองดังกล่าวมาช่วยในการวางแผนการสั่งซื้อเพื่อทำให้ต้นทุน รวมต่อปีของโรงงานกรณีศึกษาลดลง

 

Efficiency Improvement in Warehouse and Cost Reduction for Pet’s Food Factory

This research considered an inventory management problem in a pet food factory. The material ordering of the factory is based on an inventory policy without applying inventory management theory, i.e. considering the related costs: raw material cost, ordering cost and inventory holding cost. This study aimed to formulate mathematical model in the factory inventory management under uncertainties in demand and price, and different transportation lead time depending on suppliers. The optimal inventory policy is developed by using dynamic programming. The costs of both inventory policies are compared. Sensitivity analysis is performed to describe cost parameters: total fixed ordering cost per period of time, joint ordering cost per period of time, fixed holding cost per period of time and variable holding cost per unit.

The analysis results indicate that the purchasing in every period, which has the demand, minimizes the inventory holding cost but the raw material cost might be incurred if the raw material price is high in that period. On the other hand, the applying the mathematical model in inventory management, which satisfies all demand by purchasing the material in the low price period, increases the inventory holding cost but the variable cost of raw material cost decreases. However, the decreasing of the variable cost of raw material cost is more than increasing of the inventory cost. Hence, the total cost reduces for 7.19 percent. Moreover, the sensitivity analysis of the model reveals that the fix purchasing cost and the fix monthly inventory holding cost are the highest sensitive parameters to the total cost. In conclusion, the mathematical model should be applied in the inventory management problem in the case study factory to minimize the total cost.

Article Details

How to Cite
[1]
มิเดหวัน ศ. และ ณ อยุธยา ป. ส., “การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังวัตถุดิบและลดต้นทุนการผลิต: กรณีศึกษาโรงงานอาหารสัตว์”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 3, ฉบับที่ 6, น. 1–12, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย