แบบจำลองแนวความคิดของระบบโซ่อุปทานยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยพลวัตของระบบ

Main Article Content

ชวลิต มณีศรี
วรวุฒิ หวังวัชรกุล
จุฑา พิชิตลำเค็ญ

บทคัดย่อ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยถือเป็นพื้นที่ใหม่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราไม่ต่างกับพื้นที่อื่นของประเทศ ไทย เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ และด้วยการที่มีพื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพาราเป็นจำนวนมาก ทำให้มี อัตราขยายพื้นที่ปลูกใหม่ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการ การพัฒนาของอุตสาหกรรมยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อย่างไรก็ตามการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพควร พิจารณาภาพรวมทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ในบทความนี้ได้นำเสนอแบบจำลองแนวความคิดสำหรับวิเคราะห์การจัดการ โซ่อุปทานยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยพลวัตของระบบ แสดงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและตัวแปรที่มีผลต่อ โซ่อุปทานยางพาราที่ความซับซ้อน ทำให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของปัจจัยหรือตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ ระบบ นำไปสู่การวิเคราะห์เชิงปริมาณในลำดับถัดไปที่จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจด้านนโยบายหรือแผนการใดๆ ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีมูลค่าส่งออกยางพารารวมเป็นตัวชี้วัดหลัก

 

A Conceptual Model for Rubber Supply Chain in the Northeast of Thailand by System Dynamics

The Northeastern of Thailand is a new potential area for rubber growing like other regions such as the South, the East, and the North. Due to its huge suitable areas for rubber growing, there is rapid expansion of new rubber plantations through the region. As a result, the volume of rubber latex has been continuously increasing, and this is the starting point of the rubber industry development in the Northeast Thailand. However, the effective development should be considered as a whole system, from upstream to downstream. The article, therefore, presents a conceptual model for rubber supply chain in the Northeast Thailand by system dynamics. This shows the relationship between components and variables that affect the complex rubber supply chain. Consequently, it helps see the impact according to different factors or variables associating the system. This contributes more efficiency to quantitative analysis in next step that supports any policy decisions or plans by using the total export value of rubber as a main indicator.

Article Details

How to Cite
[1]
มณีศรี ช., หวังวัชรกุล ว., และ พิชิตลำเค็ญ จ., “แบบจำลองแนวความคิดของระบบโซ่อุปทานยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยพลวัตของระบบ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 3, ฉบับที่ 6, น. 32–40, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย