การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกระถาง กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ภีม พรประเสริฐ
คณิศร ภูนิคม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกระถางในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี การ ดำเนินการวิจัยเริ่มจากการเก็บข้อมูลจากใบตรวจสอบและการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องแล้วทำการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะนำมา ปรับปรุงโดยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น ทำการวิเคราะห์ข้อขัดข้องและผลกระทบและใช้แผนภูมิพาเรโตค้นหา กระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพ วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนภาพ ทำไม ทำไม และหา มาตรการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้แผนภูมิต้นไม้ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาความสูญเปล่าจากแผนภูมิกระบวนการไหลของ กระบวนการแผนภูมิกิจกรรมพหุคูณ และแผนภูมิคน – เครื่องจักร แล้วทำการลดความสูญเปล่าโดยใช้หลักการ ECRS ซึ่งผู้วิจัย พบว่าปัญหาหลักในกระบวนการผลิตกระถางในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี คือ เครื่องตัดดินไม่ได้คุณภาพ และเกิด ความสูญเปล่าจากการรอคอย จึงทำการกำจัดความแปรผันโดยใช้วิธีการดำเนินงานตามกระบวนการ ซิกซ์ ซิกมาร์ ได้ผลลัพธ์คือ ค่าสมรรถนะในกระบวนการตัดดินสูงขึ้น ค่าความเสี่ยง ระยะเวลา และ ระยะทางการเคลื่อนที่ในสายการผลิตลดลง

 

The Waste Reduction of Vase Earthenware Manufacturing: A Case Study of Enterprise Community in Ubon Ratchathani Province 

The objective of this research was to improve the efficiency of earthenware manufacturing a case study of Pakhuay community Muang district Ubon Ratchathani province. The research operation started from data collecting from check sheet, focus group activity and selected a product for improvement by analytic hierarchy process analysis. Used the Failure mode and effective analysis method and the Pareto chart for define the risk priority process must be improve the quality. Then to analyze the cause of the problem by used a Why - Why method and define countermeasures for quality improvement by used a tree diagram. And then to analyze the production wastes from the flow process chart, multiple activity chart and man–machine chart and used the ECRS method for wastes reduction. We found that the cores of the problems were not quality of clay cutting machine and waste time from delay activity. Therefore we eliminating the variable by operate following the six sigma process. Those results were, the clay cutting process capability is progressive the risk number the production line distance and cycle time were reducing.

Article Details

How to Cite
[1]
พรประเสริฐ ภ. และ ภูนิคม ค., “การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกระถาง กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 3, ฉบับที่ 6, น. 61–72, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย