รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

Main Article Content

ณรงค์ พันธุ์คง
ณมน จีรังสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อออกแบบรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งมีประสบการณ์ในแต่ละด้านอย่างน้อย 5 ปี ประกอบด้วย ด้านรูปแบบการเรียนการสอน 4 คน ด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน 3 คนและด้านเทคนิคและวิธีการ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

(1) ได้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มี 6 กิจกรรมดังนี้

1. ขั้นปฐมนิเทศ ผู้สอนปฐมนิเทศรายวิชา แจ้งรายละเอียด รวมถึงข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรม กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนรู้ ให้ความรู้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตในการศึกษา ทดสอบก่อนเรียนและแบ่งกลุ่มผู้เรียน

2. ขั้นกระตุ้นความคิดและปรับโครงสร้างทางปัญญา ผู้เรียนจะได้รับการ ทบทวนความรู้หรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียน และนำเสนอสารสนเทศใหม่ หรือความรู้ใหม่เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกัน เพื่อเรียนรู้และแสวงหาคำตอบ

3. ขั้นวางแผนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะประชุมกลุ่มย่อยทั้งแบบเผชิญหน้าและผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ประสบความสำเร็จ และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละคน

4. การเรียนรู้ผ่านสื่อและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมเรียนรู้จากสื่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือในกลุ่ม เปิดโอกาสให้สมาชิกมีโอกาสแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกในกลุ่มและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยเปิดโอกาสให้บุคคล ภายนอกได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นแนะนำและมีผู้สอนคอยกระตุ้นและดูแลให้กิจกรรมการเรียนรู้ดำเนินตามขั้นตอน

5. สรุปความคิดและสร้างองค์ความรู้ ผู้เรียนในกลุ่มนำเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนมาสรุปผลการเรียนรู้ โดยการนำเสนอในรูปแบบเอกสารรายงานหรือในรูปแบบอื่นที่สมาชิกในกลุ่มทุกคนได้ร่วมมือกันสร้างขึ้น โดยนำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือรายงานต่อผู้สอนและสมาชิกในชั้นเรียน

6. ประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมินผลจากทุกขั้นตอนในการเรียนรู้และการทำแบบทดสอบย่อยในแต่ละบทเรียน โดยการทดสอบเป็นรายบุคคลโดยนำผลคะแนนที่ได้มารวมกับคะแนนการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อประเมินผลการเรียนรู้

(2) ประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมที่เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.71, S.D. = 0.43) โดยเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความเหมาะสมในทุกด้านสามารถนำรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Model of Activities Web-based Collaborative Instructional Model based on Constructivist Theory for Undergraduate Students

This research aims (1) to design collaborative learning activities on computer networks for undergraduate students based on constructivist theory (2) to assess the suitability of a cooperative learning activity on a computer network for undergraduate students based on constructivist theory. Expertise, 10 of whom were selected purposively, which has been in the field for at least five years, including the patterns of instruction 4 to the contents and instruction 3 and the techniques and methods of three students were used in this study was the appropriate form of teaching and learning activities. The statistics used in this study is the arithmetic mean and standard deviation.

The results showed that:

(1) a cooperative learning activity on a computer network for undergraduate students. Based on constructivist theory Whistler has the following 6 things.

1. Orientation course: teacher of the orientation courses inform the terms of activities and stimulate students who interest in learning and gave a basic knowledge of computer. Then access to pre-test learning and group learning.

2. Stimulate thinking and cognitive restructuring: students will receive a review of existing knowledge or experience relevant to the content of the lesson and present new information or new knowledge to the learner's cognitive restructuring to encourage students to work together and to learn and seek answers.

3. Planned learning: students will meet in small groups, both face to face and over a computer network to plan operations as assigned successfully including roles and responsibilities of each person.

4. Learning through learning and sharing: students continue to learn from the media over a computer network with a cooperative learning group. Members have the opportunity to comment. Group members share their experiences with social interaction and opportunities for people. External parts of the recommendations submitted by the instructor are to motivate and supervise the learning process step by step.

5. The ideas and knowledge: students take the knowledge gained from the research process and the results of learning. The model presented in the form of documents, reports or other members of the group all together created by the network computer or to the instructor and class members.

6. Assess learning outcomes: this stage is to evaluate each step in the learning and to test a pattern for each lesson by testing the individual scores were combined with the scores for group activities to assess learning outcomes.

(2) For the analysis of the expert’s opinion, we found that, concluded model that is at the highest level (\bar{x}= 4.71, S.D. = 0.43) by considering is a appropriate in all aspects of the model can be developed to be used effectively.

Article Details

How to Cite
[1]
พันธุ์คง ณ. และ จีรังสุวรรณ ณ., “รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 3, ฉบับที่ 5, น. 15–25, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย