พฤติกรรมการหล่อลื่นแบบไฮโดรไดนามิกของรองลื่นกันรุนแบบแผ่นเอียงและแผ่นเรียบเมื่อสารหล่อลื่นเป็นของไหลนอนนิวโตเนียน

Main Article Content

วัชรพงษ์ พราหมณ์กระโทก
เจษฎา พานิชกรณ์
ขนิษฐา วงษ์สีดาแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอพฤติกรรมการหล่อลื่นแบบไฮโดรไดนามิกในรองลื่นกันรุนแบบแผ่นเอียงและแผ่นเรียบภายใต้สภาวะคงตัวเมื่อไม่คิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของฟิล์มสารหล่อลื่น ด้วยสารหล่อลื่นที่มีพฤติกรรมเป็นของไหลนอนนิวโตเนียนที่เป็นไปตามแบบจำลองความหนืดของ carreau โดยใช้ระเบียบวิธีผลต่างสืบเนื่องร่วมกับระเบียบวิธีนิวตันราฟสันและระเบียบวิธีมัลติกริดแก้สมการโมดิฟายด์เรย์โนลด์ในสภาวะคงตัว เพื่อหาการกระจายตัว ความดันของฟิล์มสารหล่อลื่น ความหนาของฟิล์มสารหล่อลื่นและสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน เมื่อเปลี่ยนแปลงภาระที่แผ่นรองลื่นกันรุนได้รับความเร็วรอบของเพลาหมุน และระยะความสูงของส่วนที่เป็นแผ่นเอียง พบว่า เมื่อรองลื่นกันรุนได้รับภาระเพิ่มขึ้น ความดันของฟิล์มสารหล่อลื่นสูงสุดมีค่าเพิ่มขึ้น แต่ความหนาของฟิล์มสารหล่อลื่นน้อยสุดและสัมประสิทธ์ิความเสียดทานมีค่าลดลง ความดันของฟิล์มสารหล่อลื่นสูงสุดมีค่าลดลง แต่ความหนาของฟิล์มสาร
หล่อลื่นน้อยสุดและสัมประสิทธิ์ความเสียดทานมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อความเร็วของการหมุนของเพลามีค่าเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของระยะความสูงของแผ่นเอียง ส่งผลให้ความดันของฟิล์มสารหล่อลื่นสูงสุดมีค่าเพิ่มขึ้น แต่สัมประสิทธ์ิความเสียดทานมีค่าลดลง

Article Details

How to Cite
[1]
พราหมณ์กระโทก ว., พานิชกรณ์ เ., และ วงษ์สีดาแก้ว ข., “พฤติกรรมการหล่อลื่นแบบไฮโดรไดนามิกของรองลื่นกันรุนแบบแผ่นเอียงและแผ่นเรียบเมื่อสารหล่อลื่นเป็นของไหลนอนนิวโตเนียน”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 2, น. 79–92, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Kumar BR, Rao PS, Sinha P. A numerical study of performance of a slider bearing with heat conduction to the pad. Finite elements in analysis and design. 2001; 37: 533-47.
[2] Yürüsoy M, Bayrakçeken H. Numerical method in the analysis of slider bearing with Power-law fluid. Applied mathematics and computation. 2005; 162: 491-501.
[3] Wongseedakaew K. Effect of surface roughness on hydrodynamic lubrication in thrust bearing with non-newtonian lubricant. Ladkrabang Engineering Journal. 2009; 26: 37-42 (in Thai)
[4] Wongseedakaew K, Panichakorn J, Tipatdee P. Hydrodynamic lubrication of step type thrust bearing. Paper presented at: The 28th Conference of the Mechanical Engineering Network of Thailand; 2014 Oct 15-17; Pullman Khon Kaen Raja Orchid, Khon kaen,TH. (in Thai)
[5] Panichakorn J, Wongseedakaew K, Pramkrathok W. Hydrodynamic lubrication of taper-land type thrust bearing. Paper presented at: The 28th Conference of the Mechanical Engineering Network of Thailand; 2014 Oct 15-17; Pullman Khon Kaen Raja Orchid, Khon kaen, TH. (in Thai)
[6] Fesanghary M, Khonsari MM. Topological and shape optimization of thrust bearings for enhanced load-carrying capacity. Tribology International. 2012; 53: 12-21.
[7] Wang X, Zhang Z, Zhang G. Improving the performance of spring-supported thrust bearing by controlling its deformations. Tribology International. 1999; 32: 713-20.
[8] Charitopoulos AG, Efstathiou EE, Papadopoulos CI, Nikolakopoulos PG, Kaiktsis L. Effects of manufacturing errors on tribological characteristics of 3-D textured micro-thrust bearings. CIRP Journal of Manufacturing Science and Technology. 2013; 6: 128-42.
[9] Lubrecht AA, Ten Napel WE, Bosma R. Multigrid an alternative method for calculating film thickness and pressure profiles in elastohydrodynamically lubricated line contacts. ASME Journal of Tribology, 1986; 108: 551-556.
[10] Goodyer CE, Fairlie R, Berzins M, Scales LE. Adaptive mesh methods for elastohydrodynamic lubrication. ECCOMAS Computational Fluid Dynamics Conference. Swansea, Wales, UK; 2001
[11] Khonsari MM, Booser ER. Applied Tribology: Bearing Design and Lubrication. New York, USA: John Wiley & Sons; 2001. 496 p.
[12] Tanner RI. Engineering Rheology. New York, USA: John Wiley & Sons; 1985. 586 p.
[13] Bush AW. Perturbation methods for engineers and scientists. USA: CRC Press, Inc; 1992. 320 p.