ผลของอุณหภูมิการเผาผงไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วยเหล็กต่อลักษณะโครงสร้างและการฆ่าเชื้อ Escherichia Coli

Main Article Content

วีระชัย แสงฉาย
นิพนธ์ มณีโชติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการเตรียมผงไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วยเหล็กที่ปริมาณ 5 โมลเปอร์เซ็นต์ด้วยวิธีการโซล-เจล แล้วนำไปผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 300, 500 และ 700 องศาเซลเซียส โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิในการเผาผงไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วยเหล็กที่ปริมาณ 5 โมลเปอร์เซ็นต์ต่อลักษณะโครงสร้างและการฆ่าเชื้อ E. Coli ภายใต้แสงยูวี ผลการทดลองพบว่า อุณหภูมิในการเผาผง ไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วยเหล็กที่ปริมาณ 5 โมลเปอร์เซ็นต์ มีผลต่อลักษณะโครงสร้างต่าง ๆ และมีผลต่อการยับยั้งหรือการฆ่าเชื้อ E. Coli โดยผงไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วยเหล็กที่ปริมาณ 5 โมลเปอร์เซ็นต์ที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิเท่ากับ 300 และ 500 องศาเซลเซียส จะแสดงเพียงเฟสอะนาเทส แต่เมื่ออุณหภูมิในการเผาเท่ากับ 700 องศาเซลเซียส จะแสดงเฟสผสมระหว่างอะนาเทสและรูไทล์ และผงไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วยเหล็กที่ปริมาณ 5 โมลเปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิเท่ากับ 500 องศาเซลเซียส จะแสดงประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ E. Coli ที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อ E. Coli ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายใต้แสงยูวี 60 นาที

 

The Effect of Calcinations Temperature of Fe-doped TiO2 Nanoparticles on Microstructure and Antibacterial of Escherichia Coli

This research had prepared TiO2 dope with Fe at 5 mol% by sol-gel process and then calcined at 300, 500 and 700 °C. The purpose of this research was to study the impact of TiO2 doped with Fe 5 mol% when calcined at different temperatures to structure and antibacterial E. Coli under UV irradiation. The results showed that calcined temperature affects to structure and antibacterial E. Coli. It can be seen that the anatase single phase starts to appear when the powders calcined at 300 °C to 500 °C and mixed phase between anatase and rutile phase was found that at 700 °C. The best calcinations temperature is 500 °C, it can antibacterial E. Coli at 100% under UV irradiation for 60 min.

Article Details

How to Cite
[1]
แสงฉาย ว. และ มณีโชติ น., “ผลของอุณหภูมิการเผาผงไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปด้วยเหล็กต่อลักษณะโครงสร้างและการฆ่าเชื้อ Escherichia Coli”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 1–14, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย