การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

นารีรัตน์ ขวัญรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (Teams Games Tournament: TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และ 4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีการสอนแบบปกติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 และ 1/10 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2556 จำนวน 100 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แบบแผนในการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ Randomized Control Group Pretest Posttest Design ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 17 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 6 อย่าง คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการสอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 17 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการสอนโดยวิธีสอนแบบปกติ เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 17 แผน 3) ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด 4) แบบทดสอบย่อยของชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด ชุดละ 10 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .37 – .69 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .43 – .63 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 5)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .41 – .69 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .52 – .63 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ . 88 และ 6) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.31/79.40

2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ .6997

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

A Development of the Mathematics Package with Emphasis on a Cooperative Learning Process of Team–Games–Tournament in the Polynomial Competition for Mattayomsuksa One Level (Grade 7)

The research aimed 1) to develop the mathematics package with emphasis on a cooperative learning process of TGT in the polynomial competition for MatthayomSuksa one (Grade 7) level, 2) to study the effectiveness index of the mathematics package in the study, 3) to compare the learning achievement after learning between the experimental group who learned by the mathematics package and the control group who learned by a conventional method, 4) to study the attitude towards a mathematics learning of the experimental group and the control group. The samples used in the research were 100 MatthayomSuksa one students (Grade 7) of Benjamamaharatschool in the second semester of the academic year 2013, derived by a cluster sampling. The pretest and posttest design was used in the research. The research took 17 hours. The research instrument consisted of 1) 17 lesson plans based on the mathematics package with emphasis on a cooperative learning process for the polynomial competition for MatthayomSuksa one level; 2) 17 learning management plans on the polynomial; 3 ) 7 mathematics package with emphasis on a cooperative learning process; 4) 7 sets of quizzes for the mathematics package focusing on a cooperative learning process, each of which had a difficulty value from .37-.69, a discrimination value from .43-.63 and a confidence value equivalent to .82; 5) the 30-item multiple choice achievement test on polynomial having a difficulty value from .41-.69, a discrimination value from .52-.63 and a confidence value equivalent to .88; 6) a 20-item test of a five rating scale on the attitude on mathematics learning.

The research findings were as follows.

1. The efficiency of the mathematics package with focus on a cooperative learning process in the polynomial competition was equivalent to 82.31/79.40.

2. The effectiveness index of the mathematics package in the study was equivalent to .6997.

3. The post-learning achievement of the experimental group who learned by the mathematics package was higher than that of the control group who learned by a conventional approach with a statistical significance of .05.

4. The attitude of the experimental group who learned by the mathematics package towards the mathematics learning was higher than that of the control group who learned by a conventional approach with a statistical significance of .01.

Article Details

How to Cite
[1]
ขวัญรักษ์ น., “การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 124–134, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย