การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระหวางวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI กับวิธีการเรียนรู้แบบปกติของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

อัญชลี มัดธนู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระหว่างวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI กับวิธีการเรียนรู้แบบปกติ และเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียน เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระหว่างวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI กับวิธีการเรียนรู้แบบปกติกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 100 คน ได!มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แบบแผนในการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .42 - .72 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .40 - .68 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 แบบวัดเจตคติต่อที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบสองกลุ่มอิสระจากกัน

ผลการวิจัยพบว่า

1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.64/83.60

2) ประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 75

3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

A Comparison of Mathayomsuksa 2 Students’ Achievement in and Attitude towards Mathematics Learning on One Variable Linear Equation by Using a Cooperative Learning of TAI Technique and a Conventional Learning

The research aimed to develop the lesson plans for the mathematics unit based on TAI technique on one variable linear equation for Mathayomsuksa 2 (Grade 8) students according to the 80/80 criterion, to find out the effectiveness index of the lesson plans based on TAI technique, to compare the learning achievement between the experimental group and the control group, and to compare the students’ attitude towards the mathematics learning in a post-learning period between the experimental group and the control group. The samples were 100 Mathayomsuksa 2 students of Benjmamaharat School in the second semester of the academic year 2013, obtained by a cluster sampling. The research duration was 14 hours. The research instruments were 14 lesson plans for a cooperative learning based on TAI on application of one variable linear equation for Mathayomsuksa 2 students; a 30-item multiple choice achievement test on one variable linear equation, which had a difficulty value from .42-.72, a discrimination value from .40-.68, and a confidence value equivalent to .84; a 20-item test of a five- rating scale on the attitude on mathematics. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, and t-test.

The research findings were as follows.

1) The efficiency of the lesson plans taught by using a cooperative learning based on TAI for Mathayomsuksa 2 students was equivalent to 84.64/83.60.

2) The effectiveness of the lesson plans taught by a cooperative learning based on TAI on one variable linear equation was equivalent to 0.75 or 75%.

3) A learning achievement of the experimental group that used a cooperative learning technique was higher than that of the control group that used a normal learning method with a statistical significance of .01.

4) The attitude of the experimental group that used a cooperative learning technique TAI was at a higher level than the attitude of the control group that used a normal learning method with a statistical significance of .01.

Article Details

How to Cite
[1]
มัดธนู อ., “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระหวางวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI กับวิธีการเรียนรู้แบบปกติของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 149–158, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย