การจัดการความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : กรณีศึกษา ตำบลนาดินดำ อ.เมือง จ.เลย

Main Article Content

สมยงค์ สีขาว
ชัชจริยา ใบลี
สุวิมล โชคชัยสวัสดี
ปานฤทัย พุทธทองศรี
นรุตม์ บุตรพลอย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาศักยภาพของคนในชุมชนตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย เพื่อมุ่งหวังให้คนในชุมชน สามารถจัดการความรูในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างยั่งยืน และสร้างเครือข่ายการจัดการ ความรู้ของคนในชุมชน โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนตำบล นาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย 2) เพื่อให้คนในชุมชนสามารถจัดการความรู้ในท้องถิ่นของตนเองได้อย่าง ยั่งยืน และ 3) เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ในท้องถิ่นของคนในชุมชนตำบลนาดินดำ ผลการศึกษา พบว่า ตำบลนาดินดำประกอบไปด้วย 14 หมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่มือาชีพด้านการเกษตร ทำไร่ทำสวนปลูก ผักผลไม้ และเลี้ยงโค-กระบือ ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีการตั้งกลุ่มในชุมชนขึ้นมาหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มส่งเสริมอาชีพจำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 กลุ่ม และกลุ่ม ลูกค้า ธ.ก.ส. จำนวน 1 กลุ่ม ศักยภาพหรือตัวบ่งซี้ในด้านการจัดการความรู้ของคนในชุมชน พบว่า ชุมชนมี การเข้าร่วมประชุมกลุ่ม แสดงความคิดเห็นเมื่อมีโอกาส ใข้ทรัพยากรในท้องถิ่นร่วมกันอย่างคุ้มค่า คนในชุมชน ให้ความช่วยเหลือร่วมมือกันเป็นอย่างดี มีแนวคิดในการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ท้องถิ่นเป็นของตนเอง มีความเข้มแข็งขององค์กรในเครือข่ายชุมชน และสามารถนำความรู้จากการแลกเปลี่ยนในชุมชนไปใข้งานได้จริงในระดับมาก ส่วนตัวบ่งซี้ถึงการจัดการความรู้ในชุมชนที่อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ การมีศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน

ความภูมิใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ของคนในชุมชนตำบลนาดินดำอย่างยั่งยืน มีดังนี้คือ การทำปุยชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงปลา เลี้ยงจิ้งหรีด ความเข็มแข็งของร้านค้าสวัสดิการชุมชน การจำหน่ายนํ้าอ้อย การทำนายาเอนกประสงค์ใข้ การเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การให้ ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ชุมชนมีความเข็มแข็งเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน การอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมความเข็มแข็งของกลุ่มผู้ปลูกยางพารา และการดำเนินตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนหมู่บ้านที่จัดอยู่ใน กลุ่มความเข็มแข็งของกลุ่มอาชีพระดับดี ได้แก่ หมู่ 8 บ้านเจริญสุข หมู่ 9 บ้านหนองหญ้าไซ หมู่ 10 บ้านห้วยม่วง และหมู่ 13 บ้านห้วยม่วง และจากการสัมภาษณ์กลุ่มที่เข้มแข็ง พบว่าสิ่งที่ทำให้กลุ่มเข้มแข็ง คือ ความเสียสละ ความเอาใจใส่ความเอาจริงเอาจัง และการทำงานอย่างต่อเนื่องของผู้นำกลุ่ม

จากการศึกษาดูงานโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ผานาง-ผาเกิ้ง ขุมชนส่วนใหญ่สนใจด้านการดำเนินชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงกบ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน การเพาะเห็ด และการทำดอกไม้ประดิษฐ์ จากดินไทย โดยจะดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายในครัวเรือนก่อน เมื่อได้ผลจึงจะขยายผลต่อขุมชนต่อไป

 

Knowledge Managemant to Sustainable Development : Case Study Nadindum, Loei Province.

This research aimed to investigate potential of people of Na Din Dum community, Muang district, Loei province in order to sustainably manage their knowledge and create knowledge management network. The research objectives were 1) to investigate potential of Na Din Dum community, Muang district, Loei province; 2) to make people in the community manage their local knowledge; and 3) to create knowledge management network of Na Din Dum community. The results found that there were 14 villages in Na Din Dum community and most people were farmers. The community was strong and had many career group including 5 of local entrepreneur groups, 4 of career promotion groups, 1 of farmer group, and 1 of agricultural bank customer group. It was found that potential in knowledge management included meetings, brain-storming, mutual agreement in using local resources, local cooperation, having their own culture and local wisdoms, having strong local organizations networks, and able to exchange knowledge from others. However, there were not many local learning centers which was one indicator of knowledge management.

People in the community were proud of their cooperation in community development such as producing organic fertilizer and organic vegetables, having fish farms, cricket farms, having their own cooperation shop, producing cleaning agent, organizing nurseries, working with schools, maintaining arts and cultures, having strong career groups such as rubber farm group, and implementing self-sufficient economics. Villages that were categorized as strong villages were Moo 8 Charoensuk village, Moo 9 Nongyasai village, Moo 10 Huay Muang village, and Moo 13 Huay Muang village. Interview with those villages leaders found that main factors affecting the strength of the community were sacrifice, care, determination, and continuity of leaders work.

The results from visiting the Small House in Big Woods project at Pa Nang-Pa Keng found that the community was interested in implementing self-sufficient economics, frog farm, cat fish farm, mushroom farm, and clay craft. Villagers will do those projects in their families and then expand to others when they work out well.

Article Details

How to Cite
[1]
สีขาว ส., ใบลี ช., โชคชัยสวัสดี ส., พุทธทองศรี ป., และ บุตรพลอย น., “การจัดการความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : กรณีศึกษา ตำบลนาดินดำ อ.เมือง จ.เลย”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 4, ฉบับที่ 1, น. 95–109, มิ.ย. 2016.
บท
บทความวิจัย