การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและแอปพลิเคชันนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวบนสื่อประชาสัมพันธ์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม ในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ

Main Article Content

ธิติพร ชาญศิริวัฒน์
อชินี พลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ 2) พัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวบนสื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้สื่อประชาสัมพันธ์แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้งานแอปพลิเคชันนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวบนสื่อประชาสัมพันธ์ ผลการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวได้เส้นทางท่องเที่ยว 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) เส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี – จังหวัดศรีสะเกษ 2) เส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี – จังหวัดยโสธร – จังหวัดอำนาจเจริญ และ 3) เส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี – จังหวัดอำนาจเจริญ แอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติ แอนดรอยด์ และไอโอเอส การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบบังเอิญจากนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 72 คน ผลการสำรวจพบว่า มีความพึงพอใจในการใช้สื่อประชาสัมพันธ์แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.29) และความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.22)

Article Details

How to Cite
[1]
ชาญศิริวัฒน์ ธ. และ พลสวัสดิ์ อ., “การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและแอปพลิเคชันนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวบนสื่อประชาสัมพันธ์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม ในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 109–120, ก.ย. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Tourism Authority of Thailand. Thailand Tourism Confidence Index. Bangkok: Tourism Council of Thailand; 2018. (in Thai)
[2] National Statistical Office. Survey of Thai Travel Behavior 2017 (In year 2016). Bangkok: Ministry of Information and Communication Technology; 2017. (in Thai)
[3] Royal Thai Government Gazette. Notification of the Provincial and Provincial Administration Policy Committee 2017 (17 November 2017). Vol. 134 Special 281; 2017. (in Thai)
[4] Department of Tourism. Attraction Development Plan 2015-2017. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports; 2015. (in Thai)
[5] Ministry of Tourism and Sports. Summary of the Situation number of Visitors and Income from Visitors in October 2017 [Internet]. 2018. [cited 2018 January 9]. Available from: http://www.mots.go.th/more_news.php?cid=422&filename=index (in Thai)
[6] Jiri, K. and Pavla, S. Using Augmented Reality as a Medium for Teaching History and Tourism. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 2015; 174: 926-931.
[7] Charoenroop N. Application of Augmented Reality to Present Tourist Information: A Case Study of Phrakaew Temple, Chiangrai Province, Thailand. Journal of Modern Management Science. 2017; 10(1): 13-30. (in Thai)
[8] Jiraboot K. and Group. The Creating Media Tourist Map by using Augmented Reality Technology for Promote Tourism District Chiang Khong Province Chiang Rai. The 17th Graduate Studies of Northern Rajabhat University Network Conference. Pibulsongkram Rajabhat University. Phitsanulok; 2017. p.2456-2465. (in Thai)
[9] Tunsiri P. The Real World in Virtual World (Augmented Reality). Executive Journal. 2010; 30(2): 169-175. (in Thai)