การศึกษากระบวนการเผาถ่านและสมบัติของถ่านอัดแท่งจากหญ้าแฝก

Main Article Content

วัชรานนท์ จุฑาจันทร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเผาถ่านและสมบัติของถ่านอัดแท่งที่ได้จากการเผาหญ้าแฝก ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาใช้หญ้าแฝกชนิดพันธุ์ดอนเผาด้วยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบตั้งประยุกต์ผงถ่านที่ได้จากการเผาถ่านจากหญ้าแฝกมาบดละเอียด แล้วนำมาผสมกับตัวประสานที่เป็นแป้งเปียก กำหนดอัตราส่วนโดยมวลของผงถ่าน (กิโลกรัม) ต่อปริมาตรของตัวประสาน (ลิตร) ที่ใช้ศึกษา 5 อัตราส่วนได้แก่ 0.5: 1, 1.0 : 1, 1.5 : 1 2.0 : 1 และ 2.5 : 1 ตามลำดับ อัดขึ้นรูปด้วยวิธีอัดเย็น อัดเป็นแท่งรูปทรงแบบกล่องแล้วนำมาศึกษาสมบัติต่าง ๆ ของถ่านอัดแท่ง ผลการศึกษาพบว่า เวลาที่ใช้ในการเผาถ่านประมาณ 120 นาที อุณหภูมิในเตาเผาสูงสุด 830 องศาเซลเซียส ได้ร้อยละความเป็นถ่าน 17.84 ± 0.45 ถ่านอัดแท่งอัตราส่วน 2.5 : 1 ไม่สามารถขึ้นรูปได้ สัดส่วนของผงถ่านที่เพิ่มขึ้นในส่วนผสมแปรผันตรงกับปริมาณเถ้า แต่แปรผกผันกับปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ ส่วนปริมาณสารระเหยและปริมาณคาร์บอนคงตัวมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบสมบัติของถ่านอัดแท่งกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง พบว่า ถ่านอัดแท่งที่มีอัตราส่วน 1.5 : 1 มีสมบัติผ่านเกณฑ์ทุกข้อที่ทดสอบและเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตถ่านอัดแท่งจากหญ้าแฝกโดยมีค่าความร้อนเฉลี่ย 5,335 ± 4.95 แคลอรี่ต่อกรัม และให้ค่าประสิทธิภาพทางการใช้งานสูงสุด

Article Details

How to Cite
[1]
จุฑาจันทร์ ว., “การศึกษากระบวนการเผาถ่านและสมบัติของถ่านอัดแท่งจากหญ้าแฝก”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 135–146, ก.ย. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Chandhasa R. Design of the handicraft product made of Vetiver. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2015. (in Thai)
[2] Phutteesakul R. The Production of chacoal briquette by coconut shell and cassava rhizome. [Thesis]. Bangkok; Srinakharinwirot University; 2010. (in Thai)
[3] Thamsirisub S, Pachana B. The study production of briquette by Pennisetum purpureum. 6th National and International Research Conference; 2015 April28-29; SuanSunandha Rajabhat University. Bangkok; 2015. p. 502-512. (in Thai)
[4] Chuaythong T, Chaichana T, Amloy S. Properties of charcoal from Areca Caterchu Linn shells.Thaksin University J. 2014; 17(3): 68-75. (in Thai)
[5] Department of Science Service. Charcoal Briquette production from agriculture material [Internet]. 2015 [cited 2012 September 10] available from: http://www.clinictech.most.go.th/online/pages. (in Thai)
[6] Tanpaiboonkul N, Budnumpetch T. Molding and binding method on properties of fuel from water hyacinth.Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University. 2016; 3(6): 86-100. (in Thai)
[7] Sutthiwilairatana L, Pakart P, Sittheesaard K. Fuel briquetting from biomass residue[Internet]. 2015 [cited 2017 September 15] available from: http://forprod.forest.go.th/forprod/ebook/ Research18/02.pdf (in Thai)
[8] Thai Industrial Standard Institute. Standard community Production Standard Per 238-2547 [Internet]. 2004 [cited 2017 September 2] available from: http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps238_47.pdf (in Thai)
[9] Ussawarujikulchai A, Semsayun C, Prapakdee N, Pieamsuwansiri N, Chuchat N. Utilization of durian and mangosteen peels as briquette fuel. 49th Kasetsart University Annual Conference: Sciene. Bangkok; 2011. p. 162-168. (in Thai)
[10] Saueprasearsit P, Sarasartbuncha N,Yaso A. Bio-coal Production from Mimosa pigra L.In Terdtoon P, editors.The 9thMahasarakham University Research Conference;2013 September 12-13; Faculty of Public Health, Mahasarakham University; 2013. p. 410-418. (in Thai)