การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมากในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Authors

  • ณัฏฐ์สิริ ลักษณะอารีย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Keywords:

ความเป็นไปได้ทางการเงิน, ชีวมวล, โรงไฟฟ้า, Financial feasibility, Biomass, Power plant

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณที่เหมาะสมของชีวมวล คือ ทางปาล์ม เศษไม้ยางพารา และกะลามะพร้าวที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อให้เกิดต้นทุนต่ำที่สุด และการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก ขนาด 1,000 กิโลวัตต์ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผลการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด คือ การใช้ทางปาล์มเพียงชนิดเดียวในการ   ผลิตไฟฟ้า ปริมาณที่ใช้เท่ากับ10,084 ตันต่อปี มูลค่า4,033,613บาท ต่อปี การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ทางการเงินจะพิจารณาจากค่าตัวชี้วัด คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน และระยะเวลาคืนทุนคิดลด ณ ระดับอัตราคิดลดร้อยละ 4  อายุของโครงการ 25  ปี กรณีฐานใช้ทางปาล์มเป็นวัตถุดิบเพียงชนิดเดียวตลอดจนการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ใช้ทางปาล์มและเศษไม้ยางพารา กรณีที่ 2 ใช้ทางปาล์มและกะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง   กรณีที่ 3 ใช้ทางปาล์ม เศษไม้ยางพารา และกะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง

ผลการศึกษาด้านการเงินพบว่าโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลจากในระบบแก็สซิฟิเคชั่น ในกรณีพื้นฐานมีความคุ้มค่าในการลงทุนโดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 128,578,547 บาท อัตราผลตอบแทนภายในโครงการมีค่าเท่ากับร้อยละ 16 อัตราผลประโยชน์ต่อทุนมีค่าเท่ากับ 1.4 เท่า ระยะเวลาในการคืนทุนคิดลดเท่ากับ 8 ปี 1 เดือน  จากการศึกษาความอ่อนไหวของโครงการพบว่าโครงการจะคุ้มค่าในการลงทุนทุกกรณีกรณี โดยกรณีที่ 1 เมื่อใช้ทางปาล์มกับเศษไม้ยางพารา เป็นวัตถุดิบ มีความน่าสนใจในการลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือ กรณีที่ 3 ใช้ทางปาล์ม เศษไม้ยางพารา และกะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง และ กรณีที่ 2 ใช้ทางปาล์มกับกะลามะพร้าว มีความน่าสนใจในการลงทุนน้อยที่สุด

 

The purpose of this study was to analyse the financial feasibility of biomass power plant with palm oil brunch, para rubber chip and coconut shell as fuel for  electricity production to achieve the lowest cost for investment of a very small biomass power plants for 1,000 Kilo-watt in Changwat Prachuap Khiri Khan.

For comparison purposes, 4 cases were appraised by means of net present value (NPV), internal rate of return (IRR), and benefit present-cost ratio (BCR) and payback period at the discount rate of  percent. The base case used only palm oil brunch as fuel for electricity production. The sensitivity analysis of the project carried out in three cases, the first one using the palm oil brunch and coconut, the second using the palm oil brunch and coconut shell, and the third using the palm oil brunch,  para rubber chip and coconut shell.

The result of the study showed that the biomass power plant under gasification technology in the base case was feasible and most profitable since net present value was 128,578,547 baht, internal rate of return was 16 percent, benefits cost ratio was 1.4 and discounted payback period was 8 years and 1 month. The sensitivity analysis of the project showed that all of the cases were feasible. The first case which used  palm oil brunch and para rubber chip was the best choice to invest. The second choice was the palm oil brunch, para rubber chip and coconut shell. The third choice was palm oil brunch and coconut shell.

Downloads

How to Cite

ลักษณะอารีย์ ณ. (2014). การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมากในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. KASEM BUNDIT JOURNAL, 13(2), 28–40. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/25223

Issue

Section

Research articles