Co-Training between Parents and Teachers: A Case Study at Ban Lau Sue Kok, Ubon, Thailand

Main Article Content

Metee Kansa

บทคัดย่อ

This research was a part of the researcher’s project to pay back to his village with what he has learned in hope to empower villagers and prepare children for the rapidly changing world. After launching different projects and teaching kids of different groups in the community for 10 years the researchers saw the importance of parents’ roles in teaching and training kids. A research project was conducted to see to what extend having parents participate in teaching activities can help teaching in the village. The researchers then announced that free tuition would be given to those students whose parents were ready to come and plan the lesson together with the researcher. About 15 parents came and 33 students joined the 20 hour teaching project. Parents attended the meetings and most of the classes. However, some of them could not always come. They, however, asked other parents about the meetings when they could not come. The students were interviewed and pretested before the course started. While teaching, parents were also occasionally asked to take parts in some learning activities. For example, some told the children how the village was 20 years ago or talked about native plants or farming. It was found that parent’s participating affected young students’ learning performance. The students were more confident to ask when they did not understand and did better in the post-test than the pre-test. However, older students (here Grade 9) were rather quiet when their parents were around. On the other hand, most parents had tight schedule for their living. They had very limited time to concentrate on their students’ study. Nevertheless, if the parents learn to help guide their children more, better learning on both students and parents can be expected. That will help improve children education in the country, and in turn encourage more rural development. Therefore, parents and teachers should work together more closely in educating children and rural development.

 

โครงการวิจัยเรื่อง ร่วมปลูกสร้างฝันร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครอง กรณีศึกษาที่ เหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นงานวิจัยต่อเนื่องใน โครงการวิชาการสานชุมชน หรือการนำความรู้ประสบการณ์กลับไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน บ้านเกิดของผู้วิจัยซึ่งได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆทั้งโครงการส่วนตัว และที่ได้รับ งบสนับสนุนจากทางราชการหลายรูปแบบที่บ้านเหล่าเสือโก้ก มาตั้งแต่ประมาณปี 2546-2547 โดยเห็นความสำคัญของความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อผลสัมฤทธิ์ของการ เรียนของเยาวชน จึงได้มีการประชาสัมพันธ์เสนอจัดหลักสูตร สอนให้เปล่า (20 ชั่วโมง) ใน ชุมชนโดยมีข้อแม้ให้ผู้ปกครองต้องเข้าร่วมประชุมและมีส่วนร่วมในการวางแผนและหรือร่วม กิจกรรมการสอนการเรียนด้วย ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ปกครองสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 15 ราย โดยมีผู้เรียนตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบ ถึง 15 ปี หรือระดับก่อนอนุบาลถึงระดับมัธยมต้น รวม 33 ราย

กระบวนการวิจัยเน้นการพูดภาษาอังกฤษเบื้องต้นและทักษะแนวทางการคิด การเรียน โดยมีการจัดแบ่งผู้เรียนเป็น 4 กลุ่มตามอายุคือ 3-4 ปี, 5-8 ปี, 9-12 ปี และ 13-15 ปี ตามลำดับ จัดการเรียนการสอนในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย เป็นผู้สอนหลัก และมีนักศึกษาอาสาสมัครผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยสอนประมาณ 10 ราย ก่อนการเริ่มกิจกรรมมี การทดสอบเก็บข้อมูลผู้เรียนก่อนและทดสอบอีกครั้งหลังการเรียนการสอน ในการนี้ผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมทั้งการประชุมและทำกิจกรรม เช่น ร่วมบอกเล่าเกี่ยวกับอาชีพและประสบการณ์ รวมทั้งสภาพชุมชนในสมัยอดีตเมื่อสิบยี่สิบปีก่อนผลของการศึกษาวิจัย พบว่า การเข้ามามี ส่วนร่วมของผู้ปกครอง ส่งผลบวกต่อเยาวชนกลุ่มอายุ3-8 ปี ทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น กล้าตอบกล้าถาม และมีผลการสอบหลังการเรียนดีกว่าผลสอบก่อนการเรียน อย่างไรก็ตาม กลุ่มอายุ 9-10 ปีขึ้นไป ผู้เรียนมักประหม่า พูดน้อย เวลามีผู้ปกครองอยู่ด้วย นั่นหมายความว่า หากจะให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน ควรพิจารณาความพร้อมและอายุ ของผู้เรียนด้วย โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น เยาวชนก็จะเริ่มรู้สึกถึงความเป็นไม่เป็นส่วนตัวอีกประเด็นหนึ่งที่พบก็คือ ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยต่างไม่ค่อยมีเวลามาร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ ได้ตลอดเพราะต้องประกอบอาชีพ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญรวมทั้งการให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาก็ยังเป็นที่สนใจ การประสานงานระหว่างผู้ปกครองกับครูผู้สอนก็ยังจำเป็น และการพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่น จะสำเร็จลงไม่ได้ หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นผู้นำท้องถิ่น ผู้ปกครองเยาวชน ตลอดจนตัวผู้เรียน เองจะหยุดนิ่งแล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยลำพัง

Article Details

บท
Articles