การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุวภัทร ศรีจองแสง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของชุมชนบ้านปากน้ำเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อน อัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำ จังหวัดอุบลราชธานีอย่าง สร้างสรรค์ (2) ศึกษาระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ ระลึกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำและ (3) นำเสนอรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและ สะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำอย่างสร้างสรรค์งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการแจกสอบถามนักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 125 คน รวมถึงเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านจากชุมชน จำนวน 2 คน กลุ่มหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในด้านนโยบายและแผนการพัฒนา ชุมชนในมิติต่างๆ หน่วยงานละ 2 คน และกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 10 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายสรุปความควบคู่กับการใช้สถิติ พรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งเป็นเพศหญิงจำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 และเป็นเพศชายจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 44.0 ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.0 ส่วนใหญ่จะมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 58.4 ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.8 มี อาชีพส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 25.6 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ ระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 53.6 ความต้องการของ นักท่องเที่ยวที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในชุมชนบ้านปากน้ำในปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกออกเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านการสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น (2) ด้าน คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ และ (3) ด้านคุณค่าของงานศิลปะและความงาม สำหรับด้านที่ 1 นักท่องเที่ยวมีความต้องการของที่ระลึกชุมชนบ้านปากน้ำด้าน การสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในระดับมาก ซึ่งจะให้ความสำคัญใน เรื่องของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ด้าน ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่ 2 ด้านคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ นักท่องเที่ยวมีความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีการแสดงขั้นตอน การผลิตในระดับมากที่สุด และด้านที่ 3 ด้านคุณค่าของงานศิลปะและความงาม นักท่องเที่ยวมีความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีรูปทรงสวยงามอยู่ในระดับ มากที่สุด ดังนั้นหากชุมชนบ้านปากน้ำต้องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ ระลึกที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำอย่างสร้างสรรค์ออกสู่สายตาของ นักท่องเที่ยว ชุมชนควรที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถสะท้อน ความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงควรที่จะเพิ่มคุณค่าของงาน ศิลปะและความงามควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ มากขึ้นและยังถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวสนใจและ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก รวมถึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ให้เดินทางมาท่องเที่ยวและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของระลึกได้

ดังนั้นรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านปากน้ำอย่างสร้างสรรค์นั้น ชุมชนบ้านปากน้ำควรเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนบ้าน ปากน้ำที่ถ่ายทอดจากของที่ระลึกโดยการสื่อความหมายผ่านทางอัตลักษณ์ความ เป็นชุมชนในริมแม่น้ำมูลและหาดบุ่งสะพัง ทั้งในรูปแบบของเสื้อสกรีนและ แบบปกสมุดบันทึก อีกทั้งควรเพิ่มงานฝีมือลงไปด้วย เช่น รูปวาดในโปสการ์ด รวมถึงการใช้ภาษาท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ด้านภาษา สำหรับการ ตั้งราคาขายโปสเตอร์ การตั้งราคาขายโปสการ์ดในราคาที่สูงกว่าแหล่งท่องเที่ยว อื่นๆ อาจจะต้องสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้มากขึ้นกว่านี้ เช่น การเพิ่มงานฝีมือใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์มากขึ้นรวมถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่ง การสร้างสรรค์ลวดลายบนของที่ระลึกบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ความเป็นชุมชน บ้านปากน้ำ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับราคาที่ได้ซื้อ

 

This research aims to investigate (1) the cultural identities of Paknam community in Ubon Ratchathani province in order to develop tourism souvenirs related to community identities, (2) the tourist’s demands toward tourism souvenirs in Paknam community and (3) the models of tourism souvenir related to the tourists’ satisfactions and the cultural identities of Paknam community. This research was both qualitative and quantitative research. The researcher collected data by providing 125 questionnaires to Thai tourists and interview 2 community headers, 2 officers from local government in tourism organization, and 10 local people in Paknam community. The results of the research was analyzed by descriptive and statistical analysis.

The results of the research found that most tourists were female between 31-40 years old. They graduated in bachelor degree and worked as government officer. Their incomes were between 20,000-30,000 baht per month. In terms of tourists’ demands toward the tourism souvenirs in Paknam community, there were three categories of most tourists favored the tourism souvenirs that could reflect community identities; (1) local identities, (2) souvenir attributes, and (3) art and aesthetic values. In terms of local identities, the tourists desired the tourism souvenirs that could reflect the local identities in the high level, especially the tourism souvenirs that could represent community art and culture. For the souvenirs attributes, the tourists desired the tourism souvenirs that could show the production process in the highest level. Moreover, for the art and aesthetic values, the tourists required attractive souvenirs with beautiful figure in the highest level. Therefore, in developing the tourism souvenirs in Paknam community, local people should create their souvenirs that could represent more community identities. In addition, they should increase art and aesthetic values into their tourism souvenirs in order to stimulate and attract the tourists’ demands toward their tourism souvenirs.

In conclusion, the characteristic of the tourism souvenir in Paknam community that could attract the tourists, there should be the increasing of tourism souvenirs value towards the interpretation of community identity as the community of Moon River and swamp. The example of tourism souvenirs for Paknam community were a shirt injected with the picture of community identities (Paknam temple, local people, and Moon River), notebook, and postcards. However, the craftsmen who produced the tourism souvenirs should increase their workmanship such as hand drawing in the postcards and local language. In order to increase the pricing for the postcards, the price of the postcards could be more expensive than other postcards in other tourist attractions but they needed to put creative thinking into the product.

Article Details

บท
Articles