บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรม “การโจลมะม็วด” ต่อชุมชนเขมร จ.สุรินทร์

Main Article Content

สารภี ขาวดี

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์พิธีกรรม“การโจลมะม็วด” : กรณีศึกษาจากชุมชนเขมร หมู่บ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมืองอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ในบทความประกอบด้วยเนื้อหา 6 ส่วน ได้แก่ บทนำ ,ชุมชนศึกษา : ภูมิหลังบ้านปรือเกียน ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์, ความหมายและความสำคัญ องค์ประกอบและขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม, บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมในฐานะที่เป็นข้อมูลทางคติชนวิทยา, ผลการศึกษาวิเคราะห์ และบทส่งท้าย ซึ่งการศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมที่มีต่อชุมชนเขมรพบว่าพิธีกรรม “การโจลมะม็วด” มีบทบาทหน้าที่ต่อชุมชน 6 ด้าน ได้แก่ บทบาทหน้าที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ, บทบาทหน้าที่ในการเป็นตัวกำหนด และควบคุมสังคม,บทบาทหน้าที่ในการเป็นเครื่องมือในการรวมตัวกันของลูกหลานและเป็นแหล่งรวมความสามัคคีกันของคนในหมู่บ้าน, บทบาทหน้าที่ทำให้การศึกษา, บทบาท หน้าที่เป็นเครื่องให้ความเพลิดเพลินความสนุกสนานแก่คนในชุมชน และบทบาทหน้าที่ในการสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ท้องถิ่นของตน

The Role of Jolmamuad Rite in KhmerCommunity, Surin Province

This article is part of the research entitled “An analysis of the rite of “JOLMAMUAD” : A case study of Khmer Community Ban Preukian, Tumbol Nokmuang, Muang District, Surin Province” . It consists of 6 parts : introduction, community study : background of Ban Preukian, Tumbol Nokmuang, Muang District, Surin Province, meaning and significance of the rite including its elements and procedure, role of the rite as a folklore resource , analysis results, and postscript. It was found that the Jolmamuad rite played its roles in 6 aspects : a spiritual anchor, a social determinant and controller, a serving object of relatives’ manifestation and villagers’ unity, an education resource, an entertainment object, and a community identity.

Article Details

บท
Articles