สถานภาพงานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานภาพงานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย และเพื่อสังเคราะห์เนื้อหาและแนวโน้มของงานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ กลุ่มประชากร ได้แก่  งานวิจัยที่เป็นปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าแบบอิสระหรือสารนิพนธ์ ด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือในกำกับของรัฐทั้ง 80 แห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2555  จำนวน 61 เรื่อง จำแนกเป็นวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ คิดเป็นร้อยละ 11.48 สารนิพนธ์คิดเป็นร้อยละ 88.52  ผลการศึกษาพบว่า จำนวนงานวิจัยพบมากที่สุดในปีการศึกษา 2554 คิดเป็นร้อยละ 32.76  ปีการศึกษา 2553 คิดเป็นร้อยละ 20.69 ปีการศึกษา 2555 คิดเป็นร้อยละ 14.75  วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อหาประสิทธิภาพ คิดเป็นร้อยละ 15.73  เพื่อสร้างแบบเรียน คิดเป็นร้อยละ 14.61 เพื่อสร้างแบบฝึก คิดเป็นร้อยละ 10.11 กลุ่มประชากร พบว่า ศึกษากลุ่มชาวต่างชาติทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 42 กลุ่มอุดมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 18 และศึกษากลุ่มประถมศึกษาตอนต้น กับกลุ่มผู้สอนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 12 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยพบมากที่สุดคือ แบบทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 28.16 แบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 11.65 และ แบบฝึกจำนวน 12 ชุด คิดเป็นร้อยละ 11.65  ในส่วนของการสังเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัย พบการสร้าง การพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน การหาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 78.69 การศึกษาความต้องการ ทัศนคติ และความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 8.20 และการศึกษาสภาพและปัญหาในการเรียนการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ คิดเป็นร้อยละ 6.56 ผลการสังเคราะห์เชิงคุณภาพ จำแนกตามเนื้อหาของงานวิจัย 6 ด้าน ดังนี้  1.ด้านการสร้าง การพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน การหาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ด้านการศึกษาความต้องการ ทัศนคติ และความพึงพอใจ  3.ด้านการศึกษาสภาพและปัญหาในการเรียนการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ 4. ด้านการศึกษาพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 5. ด้านการศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย 6.ด้านการวิเคราะห์สารเพื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย

This research aimed to analyze the status of research in teaching Thai as a foreign language of post-graduate curriculum at the universities in Thailand and synthesize the contents and the tendency of research in teaching Thai as a foreign language.The population of this research was 61 research studies published in 2002 - 2012, which consisted of theses  and independent studies in teaching Thai as a foreign language from 80 public universities and autonomous universities. Among these works, 11.48 % were theses and 88.52% were independent studies.

The results of the study displayed that  the research studies in teaching Thai as a foreign language were mostly carried out in 2011 (32.76%) followed by 2010 (20.69%) and 2012 (14.75%). The purposes of the research studies were to find the efficiency (15.73%), to construct textbooks (14.61%) and to construct exercises (10.11%). The population used in the research studies consisted of foreign adult learners (42%) followed by university students (18%) and elementary students had the same amount as foreign instructors (12%). The mostly used research instruments were test (28.16%), questionnaire (11.65%) and 12 exercises (11.65%).

The synthesis of the research contents displayed that curriculum construction and development, instructional media production together with finding the efficiency and academic achievement were mostly studied (78.69%) followed by studies of needs, attitude and satisfaction (8.20%) and  studies of state and problems of teaching and learning Thai as a foreign language (6.56%). The results of quality synthesis classifying 6 contents of the research studies were 1. curriculum construction and development, instructional media production together with finding the efficiency and academic achievement, 2. studies of needs, attitude and satisfaction, 3. studies of state and problems of teaching and learning Thai as a foreign language, 4. studies of the behavior of instructors and learners in Thai as a foreign language classes, 5.studies of state and problems of Thai as a foreign language program management, and 6. text analysis for teaching and learning Thai. 

Article Details

บท
Articles