แนวทางการวิเคราะห์คำอีดิโอโฟนในภาษาลาวถิ่น

Main Article Content

ธนานันท์ ตรงดี

บทคัดย่อ

สิ่งที่เป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของคำอีดิโอโฟนคือการใช้เสียงสื่อความ นั่นคือเสียงในคำเหล่านี้ สามารถสื่อความหมายบางประการได้ ถึงแม้จะมี ผู้ศึกษาคำอีดิโอโฟนในภาษาลาวมาบ้างแล้ว แต่ก็เป็นเพียงบางถิ่นเท่านั้น ยังมีภาษาลาวถิ่นอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีผู้ศึกษาเลย หากมีการศึกษาขึ้นอีกในหลายๆ ถิ่นแล้วก็จะสามารถทราบลักษณะร่วมของคำอีดิโอโฟนในภาษากลุ่มลาวได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการศึกษาคำอีดิโอโฟนในภาษาลาวถิ่น โดยใช้ข้อมูลภาษาลาวเวียงจันทน์มาเป็นตัวอย่าง เนื้อหาของบทความเริ่มตั้งแต่การให้นิยามคำอีดิโอโฟนว่าเป็นคำที่มีลักษณะพิเศษและใช้พรรณนา จินตภาพจากการรับรู้ทางประสาทสัมผัส มีการให้เกณฑ์การระบุคำอีดิโอโฟนว่าจะต้องเป็นคำวิเศษณ์แบบพรรณนาไม่ใช่แบบบรรยาย มีการเสนอว่าควรแยกประเภทคำอีดิโอโฟนเป็น 5 ประเภทตามประเภทของประสาทสัมผัสคำอีดิโอโฟนในภาษาลาวเวียงจันทน์เป็นคำที่มี 1-4 พยางค์โดยมีลักษณะพิเศษ คือ การสัมผัสสระหรือการสัมผัสพยัญชนะ ประเด็นที่สำคัญที่สุดในบทความนี้คือ การแสดงให้เห็นว่าคำอีดิโอโฟนในภาษาลาวใช้เสียงสื่อความ ทั้งเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การกล่าวซ้ำ และการซ้ำคำ โดยชี้ให้เห็นความเป็นประติมาของการใช้เสียงสื่อความด้วย นอกจากนี้ยังเสนอประเด็นใหม่คือการทดลองเพื่อเข้าถึงความคิดในการเชื่อมโยงเสียงกับความหมายของเจ้าของภาษาในคำอีดิโอโฟนด้วย ประเด็นต่างๆ ที่นำเสนอเป็นแนวทางนี้สามารถนำไปศึกษาในภาษาลาวถิ่นอื่นๆ ซึ่งยังไม่มีผู้ใดศึกษาได้

 

Sound symbolism is one of the salient characteristics found in an ideophone. Its sounds can convey some senses of meaning. Even though there are some studies on the ideophones in Lao dialects but it can be regarded that those are not sufficient. There are many Lao dialects which have not been studied. If there are more studies in other Lao dialects, the common characteristics of Lao ideophones could be found. The purpose of this paper is to propose some guidelines in studying the ideophones in Lao dialects. An analysis of the ideophones in Vientiane Lao is shown as an example. The contents of this paper proceed from the definition of ideophones as the marked words that depict sensory imagery. The criteria of selecting an ideophone are given that they must be depictive adverbs, not to be descriptive ones. It is found that Vientiane Lao ideophones are formed with 1-4 syllables, marked by rhyming and alliteration. The sound symbolic system shows that its consonant, vowel, tone, repetition and reduplication can convey its meaning. The iconicity of sound symbolism in Vientiane Lao ideophones is also pointed out. Apart from the topics mentioned above, an experiment on ideophones to access the cognition of native speakers concerning the linkage between sound and meaning is suggested either. These proposed guidelines can be used in studying other Lao dialects.

Article Details

บท
Articles