วิเคราะห์วิธีการสอนตามแนววิถีพุทธ โรงเรียนเขื่องในเจริญราษฎร์ ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • Phra Sarot Kittisampanno Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

โรงเรียนวิถีพุทธ, วิธีการสอนตามแนววิถีพุทธ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของโรงเรียนวิถีพุทธ วิธีการสอนตามแนววิถีพุทธ และวิเคราะห์วิธีการสอนตามแนววิถีพุทธของโรงเรียนเขื่องในเจริญราษฎร์ ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเขื่องในเจริญราษฎร์ เป็นโรงเรียนระบบปกติที่นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาอย่างบูรณาการ โดยผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่าแท้ของชีวิตและสังคม 2) วิธีการสอนตามแนววิถีพุทธของโรงเรียนเขื่องในเจริญราษฎร์ มีกระบวนการเรียนการสอนและการประยุกต์ใช้ตามแนววิถีพุทธ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเรียนรู้วิชาการและหลักจริยธรรมที่สัมพันธ์ด้วยหลักสังคม (ศีล) ความสงบสุข (สมาธิ) และการผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ สติปัญญาที่รอบคอบ (ปัญญา) ผ่านรายวิชาและกิจกรรมพุทธบูรณาการประจำเดือน 3) วิธีการสอนตามแนววิถีพุทธของโรงเรียนเขื่องในเจริญราษฎร์นั้น มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ทั้งการอบรมสั่งสอน การจัดการเรียนรู้ และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหาร ครูและบุคลากร สามารถสร้างเด็กนักเรียนให้มีคุณลักษณะมีภูมิรู้ภูมิธรรม สร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างวัด โรงเรียน และชุมชน จนได้รับยกย่องให้เป็นสถานศึกษาที่ปลูกฝังความดีแก่บุคคลและชุมชนมากมาย รวมถึงนำความรู้และคุณธรรมไปบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสุข และการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติได้อย่างเหมาะสม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
Ministry of Education. (2016). Educational Development Plan of the Ministry of Education No. 12. Bangkok: n.p.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2546). ทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
PhraThepsopon (Prayoon Dhammacitto). (2003). Thai education direction. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2004). Education begins when people know to eat& Know life. Bangkok: U-sa printing.
เมตตา ภิรมย์ภักดิ์. (2547) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
Phiromphak, M. (2004). Strategy for the development of Buddhist schools. Bangkok: U-sa printing.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2547). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
Office of the Basic Education Commission. (2004). Strategy for the development of Buddhist schools. Bangkok: U-sa printing.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ:
ม.ป.ท.
Prime Minister's Office. (2017). National Economic and Social Development Plan No. 12. Bangkok: n.p.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การขนส่งสินค้าและพัสดุ (ร.ส.พ.).
Educational Innovation Development Bureau. Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. (2015). Guidelines for the implementation of Buddhist schools. 5th edition, Bangkok: Printing Factory, Cargo and Parcel Organization.
สำราญ วงศ์คำพันธ์. (2556). กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนไมตรีจิตไทย-อเมริกัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Wongkamphan, S. (2013). Teaching process based on threefold principles in Thai-American friendly schools. Thesis. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
สุรชาติ อินแผลง. (2550). การศึกษาสภาพการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านติ้วน้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Inphang, S. (2007). The study of the operation of Buddhist way schools Under the Office of Educational Service Area, Loei District 1: Case Study of Ban Tio Noi School. Master of Education. Thesis. Graduate School Khonkaen University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย