การปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ของพุทธศาสนิกชน วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พิชาณันช์ เตชะประสิทธิวานิช วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดสมชาย ปโยโค มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อเปรียบเทียบ และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค    การปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ของพุทธศาสนิกชน วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม วิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง 312 คน จากประชากรทั้งหมด 1,402 คน โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท เพื่อทำการศึกษาผลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. การปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ของพุทธศาสนิกชน วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับบ่อยครั้ง (= 3.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสูงสุด คือ ด้านอปจายนมัย อยู่ในระดับบ่อยครั้ง (= 24) และด้านน้อยสุด คือ ด้านทิฏฐุชุกัมม์ อยู่ในระดับนาน ๆ ครั้ง (= 2.47)
  2. 2. ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ของพุทธศาสนิกชน วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน มีระดับการปฏิบัติตน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีระดับการปฏิบัติตน โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
  3. 3. ปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ของพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ พบว่า พุทธศาสนิกชนไม่ค่อยมีเวลาในการเข้าวัด และไม่ทำบุญทำทานอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้อื่น ไม่มีเวลาในการเจริญภาวนา สวดมนต์และทำสมาธิ ขาดการให้ความเคารพการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ขาดการมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กัน ขาดการแสดงความยินดีชื่นชมเมื่อผู้อื่นทำความดี ขาดความรู้ สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และขาดการทำความดี

References

Champa, P. (2009). Factors Affecting Attitudes towards Learning in the Dharma Studies Program of the Students of the Buddhist Scripture School Phra Dhammakaya Temple, Khlong Luang District, Pathum Thani Province. Journal of Education. 10(1).
Nuthongkaew, K. (2013). An application of Punkiriya Vatthu principle for the way of Life of people in Mueang district, Nakhon Si Thammarat province, B.E. 2556. Walailak Abode of Culture Journal.
Sukhawandee, B. (2019). Buddhist 5 Precepts Moral Behaviors of the Special Program Student of Mahamakut Buddhist University. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(1), 45-56.
Phrakhruthammathon Sunthon Kavissaro (Phengat). (2014). Comprehension on Sanghadana Offerings and Merit Dedication of Buddhist Youth: A Case Study at Wat Jarakheyai, Bangsaothong District, Samut Prakan Province. Thesis. Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Maha Danai Wongprom. (2013). Relations on good governance and effectiveness in temple administration in Bang Phlat District, Bangkok. Journal of Knowledge and Research. 21, 64.
Lertsakornsiri, M. (2017). The Comparison of Quality of Life for the Elderly under Multiple Intelligence Integration after Practice Based on Eastern Philosophy in the Thai B. Kuakarun. Journal of Nursing. 24(1), 38-40.
Nuthongkaew, K. (2013). Bringing the principle of merit Used in the way of life of people in Mueang District, Nakhon Si Thammarat Province. Research Report. Mahamakut Buddhist University.
Phrakhrupalad Kittiwatana Silapusito (Jirasawetpitak). (2017). A Following the Puññakiriyā-Vatthu of Buddhist: A Case Study of Buddhists at Wat Bangnanok. Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Charoon Ratanakal. (2013). The Application of the Buddhadhamma Plinciple and the SuffIciency Economy concept for the people’s cohabitation in Tambal Sambandit Amphoe Uthai, Research Report Title. Changwat Pranakhon SI AyutThaya. Faculty of Humanities and Social Sciences: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.
Phra Nun Kantakuno. (2013). A study of Meritorious Perfections (Pubkiriyavatthu) of the People in Ban Nong-Tor-Tang, Keum Chat district, Nong Song ong District, Khonkaen Province. Thammasat. 14(3), 173-164.
Phramaha Suriyan Bunyod. (2015). Dharma - Practitioner’s Satisfaction through Nekkhammaparami Panyanandharam Temple, Khlong Subdistrict, Khlongluang District, Pathumthani Province. EAU Heritage Journal Social Science and Humanity. 5(1).
Phra Suparong Patsoto (Jantagit). (2014). Loki Dhamma Practice of Buddhists in Si Phaya Subdistrict, Thamai, Chanthaburi. Thesis. Rambhai Barni Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย