ตัวแบบการตลาดธุรกิจสังฆภัณฑ์ในเขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาชูชัย ดวงสกาวพิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สวงค์ เศวตวัฒนา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนากร ธนาธารชูโชติ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ตัวแบบการตลาด, ธุรกิจสังฆภัณฑ์, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการซื้อสังฆภัณฑ์ 2) ระดับความสำคัญของปัจจัยนำไปสู่ตัวแบบการตลาดธุรกิจสังฆภัณฑ์ 3) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อกับปัจจัยนำไปสู่ตัวแบบการตลาดธุรกิจสังฆภัณฑ์ 4) เสนอตัวแบบการตลาดธุรกิจสังฆภัณฑ์ในเขตจังหวัดปทุมธานี แบบของการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารธุรกิจธุรกิจสังฆภัณฑ์ จำนวน 5 ท่าน และวิธีเชิงปริมาณเป็นหลัก โดยเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่เคยซื้อสังฆภัณฑ์ จำนวน 385 คนไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นโดยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเพียรสัน และถดถอยเชิงพหุคูณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

            ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการซื้อสังฆภัณฑ์ภาพรวมเฉลี่ยและทุกด้านระดับมาก

            2) ระดับความสำคัญของปัจจัยนำไปสู่ตัวแบบการตลาดธุรกิจสังฆภัณฑ์ในเขตจังหวัดปทุมธานี ภาพรวมเฉลี่ยและทุกด้านสำคัญมาก

            3) พฤติกรรมการซื้อสังฆภัณฑ์ภาพรวมเฉลี่ยมีความสัมพันธ์ปานกลางกับระดับความสำคัญของปัจจัยที่นำไปสู่ตัวแบบการตลาดธุรกิจสังฆภัณฑ์ในเขตจังหวัดปทุมธานี

  4) ตัวแบบการตลาดธุรกิจสังฆภัณฑ์ในเขตจังหวัดปทุมธานี = .921 ด้านความแตกต่างของสังฆภัณฑ์ + .874 ด้านบรรจุภัณฑ์ + .850 ด้านราคา + .812 ด้านการจัดจำหน่าย + .738  ด้านการส่งเสริมการตลาด + .695 ด้านผลิตภัณฑ์ +  .522 ด้านบุคลากร

References

Sekprkon, N. (2015). The Model of Marketing in Products Priestly Buddhism Business in Bangkok. Academic Journal Phranakorn Rajabhat University, 6(2), 77-88.
Phra Brahmmagunabhorn (P.A. Payutto), (2009), Dictionary of Buddhist. Bangkok: MCU Press.
Taweesuk, P. (2015). Thai Entrepreneur’s Opinion on Marketing Mix Strategy for Organic Rice, Suthiparithat, 29(92), 166-181.
Panyindee, S. and Panyindee, J. (2019). The Effect of Business Management Based on the Sufficiency Economy Philosophy, Entrepreneurial Orientation and Corporate Social Responsibility toward Sustainability of the Retail Business in Bangkok. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(1), 1-16.
Pukdeeto, S. and Sutamuang, K. (2013). Motivation For Consume Organic Rice on Working Age of Consumer in Bangkok Metropolitan Areas, Journals Finance Investment, Marketing and Business Management, 3(1), 547-566.
Kotler, P. (2004). Marketing Management (Millennium Edition). New Jersy: Prentice - Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management. (14th ed.). Pearson: Prentice Hall.
Nkatha and Mugendi. (2013). The Role of Marketing – Mix Strategies on Growth of Micro and Small Enterprises in Meru County – KenYa. International Journal of Research in Commerce, Economics and Management. Cabell’s Directories of Publishing Opportunities, U.S.A.
Yahagi, T. (2006). The Internationalization Process of Japan’s. Retail Market Hosei University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-10-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย