การศึกษา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสอน Think-Pair-Share

ผู้แต่ง

  • มนตรี เฉกเพลงพิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, เทคนิค Think-Pair-Share, ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์  เรื่อง  การกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจของนักเรียน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Share  2)  เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Share  และ 3)  ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Share  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ  นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียน
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ  กรุงเทพมหานคร  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Share  จำนวน  1  หน่วยการเรียนรู้  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
3) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล  4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Share  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน  ผลการวิจัยพบว่า  คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสอน Think-Pair-Share (X̅   = 26.15 , S.D. =  2.55) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสอน Think-Pair-Share (X̅  = 15.27,
S.D. =  3.17)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสอน Think-Pair-Share  (X̅  = 12.85 , S.D. = 1.34 ) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสอน Think-Pair-Share (X̅  = 8.45 , S.D. = 1.62 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Share  โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กนก จันทรา. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิชา ทับทวี. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อความสามารถใน การคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ซูรายา สัสดีวงศ์. (2555). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการรูปแบบการพัฒนาความคิด ทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุศรา สวนสำราญ. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทีจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิชัย เสวกงาม. (2557). ความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์, 42 (2), 207-223.
สุบรรณ ตั้งศรีเสรี. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบค้นพบจากการชี้แนะร่วมกับเทคนิค THINK-PAIR-SHARE ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Byerley, R.A. (2002). Using Multimedia and Active Learning Techniques to Energizr: An Introductory Engineering Thermodynamics Class. Frontiers in Education Conference.
Good, C.V. (1973). Dictionary of education. (3rd ed). New York: McGraw-Hill.
Kagan, S. (1994). Cooperative Leaning. New York: Publisher: Resources for Teachers.
Lyman. F.T. (1981). The Responsive Classroom Discussion: The Inclusion of all Students.in A. Anderson (Ed.), Mainstreaming Digest. College Park: University of Maryland Press.
Piaget, J. (1973). Memory and intelligence: New York: Basic Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย