การนำโครงการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักสูตร สัคคสาสมาธิไปปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • เกศริน เอกธวัชกุล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

หลักสูตรสัคคสาสมาธิ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำโครงการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิไปปฏิบัติ  และ 2)เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤตินิสัย ความประทับใจและประโยชน์จากการนำโครงการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิไปปฏิบัติ  เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาคือ ผู้บริหารของกรมราชทัณฑ์ในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ  ผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสัคคสาสมาธิ  ผู้ต้องขังในฑัณฑสถานที่เข้าร่วมการอบรมในหลักสูตรสัคคสาสมาธิ จำนวน 5 แห่ง โดยคัดเลือกผู้ต้องขังแบบจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนาวิเคราะห์ตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

          ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำโครงการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิไปปฏิบัติ สรุปได้ว่า 1) ด้านการบริหารหลักสูตร จัดว่าดีมาก2) ด้านการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตร ทำให้ผู้ต้องขังจิตใจสงบ ใจเย็น มีสติ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี 3) ด้านบุคลากรครูฝึก ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรอาจาริยสาสมาธิ และสอบผ่านการเป็นอาจารย์ของทางสถาบันพลังจิตตานุภาพ 4) ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจดี เพราะเป็นมีการสอนที่เป็นระบบ มีขั้นตอน  5) ด้านความต้องการความสำเร็จ ผู้ต้องขังที่ผ่านการอบรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น 6) ได้รับการยอมรับนับถือจากผู้บริหารของกระทรวงยุติธรรมทุกฝ่ายว่า ผู้ต้องขังที่ผ่านการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงพฤตินิสัยดีขึ้น 7) ด้านความคาดหวัง ให้ผู้ต้องขังเป็นคนดี ไม่ไปกระทำความผิดอีก เมื่อพ้นโทษออกไปแล้ว 8) ด้านแรงจูงใจ เป็นหลักสูตรที่ดีสามารถดึงดูดให้ผู้ต้องขังกลับตัวเป็นคนดี และช่วยพัฒนาจิตใจของผู้ต้องขังให้มีความเข้มแข็ง 9) ด้านการพัฒนาพฤตินิสัย ทำให้ผู้ต้องขังเปลี่ยนแปลงพฤตินิสัยไปในทางที่ดี มีความวิตกกังวลลดน้อยลง

  1. ความเปลี่ยนแปลงและประโยชน์ที่ได้จากการนำโครงการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิไปปฏิบัติ สรุปได้ว่า 1) ผู้ต้องขังเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤตินิสัยในทางดีขึ้น 2) ผู้ต้องขังได้ความสงบในใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ได้พัฒนาจิตใจ 3) ผู้ต้องขังได้รับประโยชน์ ในการฝึกสมาธิอย่างถูกต้อง 4) ผู้ต้องขัง มีจิตใจที่ดีเห็นคุณค่าของการละความชั่ว ทำแต่ความดี

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
Kalyanamitra, K. (2016). Public Policy. Bangkok: Bangkokthonbuti University.
กรมราชทัณฑ์ (2560). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. สืบค้นจาก : www.correct.go.th/stat102/display/select date_user.php.
Department of Corrections. (2017). Statistics Reports of Correctional around the Country. Search from: www.correct.go.th/stat102/display/select date_user.php.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2553). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2010). Stress Relief Guide (Revised Edition). Bangkok: Department Mental Health Ministry of Public Health.
คณะศิษยานุศิษย์พระเทพเจติยาจารย์ . (2552). อัตตชีวประวัติพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร). (พิมพ์ครั้งที่ 4). สมุทรปราการ: เกียวโด เนชั่น พริ้นท์ติ้ง เซอร์วิส.
Groups of Phra Thep Jatiyacharn. (2009). Autobiography of Phra Thep Jatiya Charn (Luang Phor Viriyak Sirintharo). (4th ed.). Samutprakan: Kyodo Nation Printing Services.
ชาคริต คงทอง. (2559). การประเมินผลโครงการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง “หลักสูตรสัคคสาสมาธิ” ตามแนวทางพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) โดยการนำรูปแบบ IPO มาประยุกต์ใช้ในการประเมินเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์:
Kongthong, K. (2017). Evaluation of the Inmates Mental Development Project "Meditation Course"according to the Guidelines of Pra Dhamma Mongkolyan (Luang Por Wiriyang Sirintharo) By Bringing the IPO Model Apply to Evaluate Project Personnel. Nonthaburi: Department of Penology Bureau Corrections:
ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์. (2555). การดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: บียอนด์ พับลิชชิ่ง.
Kraipassapong, D. (2012). Caring for People with Mental Health Problems and Psychiatry. (6th ed.). Nonthaburi: Beyond Publishing.
พระมหามนตรี หลินภู. (2551). การศึกษาความเครียดและการลดความเครียดที่มีต่อการใช้ชีวิต ภายในเรือนจำของผู้ต้องขังโดยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Phra Maha Montri Lin Phu. (2008). Study of Stress and Stress Reduction in Use Life in Prisoners by Group Counseling by Adhering to the Four Noble Truths. Master of Education Thesis. Graduate School, Srinakharinwirot University.
รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด (2558). นักเรียน LBGT ถูกรังแกแรงถึงแกล้งข่มขืน บางคนคิดฆ่าตัวตาย-ครูมองแค่เด็กเล่นกัน.สืบค้นจากhttp://www.tcijthai.com/news/2015/03 /scoop/5
Raktinkamnerd, R. (2015). LBGT Students were Bullying to Pretend to Rape Some People Think of Suicide-The Teacher Looked at only the Children Playing. Search from: http://www.tcijthai.com/news/2015/03/scoop/5.
Abbott, W.F. and J.R. Monsen. (1979). On the Measurement of Corporate Social Responsibility: Self-Reported Disclosure as a Method of Measuring Corporate Social Involvement. Academy of Management Journal, 22.
Dunn, M. J., & Doria, M. V. (2010). Simulated Attraction Increases opposite Sex Attractiveness Ratings in Females but Not Males. Journal of Social, Evolutionary, and Cultural Psychology.
Kabat–Zinn. (2003) Mindfullness Based Interventions in Context: Past Present and Future Clinical Psychology Science and Practice.
Holmes, T., & Rahe, R. (1967). The Social Read Judgement Rating Scale. Journal of Psychometric Research.
Van Horn, Carl E., And Donald S. Van Meter.(1976). The Implementation of Intergovernmental Policy. in Charles O. Jones, and Robert D. Thomas, Public Policy Making in a Federal System. California: Sage Publications.
Sabatier,Pual A and A. Mazmanian. (1989). Policy Implementation. In Stuart S. Naga led. Encyclopedia of Policy Studies. New York: Marcell Dekker, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-11-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย