แนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร

ผู้แต่ง

  • สุธน ศรีศักดิ์บางเตย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ, การสื่อสาร, โรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคารการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร รวม 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2) แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร ด้านบุคลากร และการจัดเก็บข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กรมาไว้รวมกันอย่างเป็นระบบ โดยได้เสนอแนวทางในการพัฒนา ดังนี้  (1) กำหนดมาตรการในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและเป็นระบบ  (2) จัดการศึกษาดูงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาสมรรถนะให้แก่บุคลากร เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์และโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ (3) จัดการฝึกอบรมการจัดทำสื่อการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง  (4) จัดทำคู่มือเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์และสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ ต่อบุคลากรในโรงเรียน ให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2552). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบล๊อก.
Ministry of Information and Communication Technology. (2009). Survey of the Information and Communication Technology Using in Schools 2008. Bangkok: Bangkok Block.
ฐานิตา นพฤทธิ์. (2556). นวัตกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในฝัน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
Nopparit. T. (2013). The innovation for innovation communication technology administration in labschools. Doctor of Philosophy Thesis. Silpakorn University.
ทิพวัลย์ นนทเภท. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 47-56.
Nonthaphet, T. (2016). The Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office.Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 47-56.
ณัฐกรณ์ หิรัญชาติ และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2557). บทบาทผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 36-44.
Hiranchart, N. & Wangthanomsak, M. (2014). Administrator’s Role and the Information and Communication Technology in School. Journal of Educational Administration, Silpakorn University, 5(1), 36-44.
นงลักษณ์ ศิริฟัก. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการใชัเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
Sirifak, N. (2018). Transformation Leadership of Administrators and Information and Communication Technology of Secondary SchoolL in Kanchanaburi Province. Master of Education Thesis. Silpakorn University.
ภรดร ดุลณกิจ, สิรินธร สินจินดวงศ์ และ ชารี มณีศรี. (2562). ตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1376-1390.
Dulnakit, P., Sinjindawong, S., and Maneesri, C. (2019). Characteristics of Innovative Learning Organization Model of Schools under Primary Educational Service Area Office. Journal of MCU Peace Studies, 7(5), 1376-1390.
สมศักดิ์ อัมพรวิสิทธิ์โสภา และ สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. (2561). กระบวนการบริหารสถานศึกษาให้เกิดความโปร่งใสตามหลักพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1725-1740.
Amphornvisitsopha, S. and Srivichai, S. (2018). The School Administration Process are Transparent According to Buddhist Principles. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1725-1740.
สุรัตน์ เพชรนิล และ ศิริณา จิตต์จรัส. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(2), 194-210.
Petchnil, S. & Jitcharat, J. (2018). A Development of Learning Activities for University Students Social Responsibility Enhancement. Silpakorn Educational Research Journal, 10(2), 194-210.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB). (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan B.E.2560-2564. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Press.
Lunenburg, F.C., and Ornstein, A.C. and (2007). Educational Administration: Concepts and Practices. (5th ed.). CA: Wadsworth Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย