การศึกษาเชิงวิเคราะห์คติธรรมในพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ของชาวมอญ ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูสมุห์ อานนท์ อานนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดสมชาย ปโยโค มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คติธรรม, พิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์, ชาวมอญ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติของการประกอบพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ของชาวมอญ 2) เพื่อศึกษาคติในพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ของชาวมอญ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมในพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ ของชาวมอญ ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา หนังสือ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ จำนวน 10 รูป/คน แล้วนำมาสังเคราะห์สรุปนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การประกอบพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการรักษาสืบทอดจากบรรพชนจนถึงปัจจุบัน ของชุมชนชาวมอญในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการรำผี ประเพณีซังกราน (สงกรานต์) และการปลูกบ้าน ส่วนคติความเชื่อเรื่องการสร้างพระพุทธรูปนั้น เป็นการอิงอาศัยประวัติทางพระพุทธศาสนา โดยมีความเกี่ยวข้องกับชาดก เช่น จันทเสนชาดก เป็นต้น 2) คติในพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ของชาวมอญ ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาแต่โบราณ จึงได้นำเอาพุทธประวัติมาเป็นแบบแผนในการจัดพิธีกรรม เพื่อบูชาคุณของพระพุทธเจ้าและอุทิศผลบุญแก่ญาติผู้ล่วงลับ ด้วยมุ่งหวังว่าบุญจะส่งผลให้ญาติได้รับความสุขในสุขติภพ ทั้งยังเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีรู้คุณบรรพชน โดยพิธีกรรมนี้ยังช่วยให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและเป็นอุบายให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เรื่องราวในพุทธประวัติ และ3) การวิเคราะห์คติธรรมในพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ของชาวมอญ ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พบว่า พิธีกรรมนี้ได้สอดแทรกหลักคำสอนเรื่องบุญส่งผลให้เกิดสุข บาปมีผลเป็นทุกข์ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นอกจากนี้เป็นการส่งเสริมความสามัคคีของหมู่คณะ ที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมมีโอกาสทำบุญกิริยาวัตถุ และมีความเชื่อมั่นในบวรพระพุทธศาสนา

References

จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2555). พุทธศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ฉลวย ขันจำนง. (2562). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไทรใหญ่ จ.นนทบุรี. สัมภาษณ์. 15 เมษายน.
ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิศาสนา และระบบความเชื่อ กับประเพณีนิยมในทองถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส.
พระครูวิบูลสีลากร (ไพฑูรย์ เตชธมฺโม). (2562). เจ้าอาวาสวัดเกษตราราม จ.นครปฐม. สัมภาษณ์. 20 เมษายน.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.
_______. (2555). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระราชญาณมงคล (เสน่ห์ ปภงฺกโร). (2562). เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาสวิหาร จ.นนทบุรี. สัมภาษณ์. 13 มีนาคม.
พระอดิศักดิ์ วชิรปฺโญ. (2561). แนวคิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1810-1821.
พระสุเมธมุนี (ลำพวน ธมฺมธโร). (2562). เจ้าอาวาสวัดบึงลาดสวาย จ.นครปฐม. สัมภาษณ์. 16 เมษายน
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมาพร คล้ายวิเชียร. (2509). พระพุทธรูปบูชา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เสริมวิทย์บรรณาคาร.
สุเอ็ด คชเสนี. (2543). วัฒนธรรมประเพณีมอญ. สมุทรปราการ: พระประแดงการพิมพ์.
Iso, K. (2018). The Contemporary Thai Version of the Kathin Ceremony: Ceremonial Importance of the Distribution of White Envelops and the Money Tree Tradition. Journal of International Buddhist Studies, 9(2), 35-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย