เศรษฐศาสตร์การเมืองในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • Nuttida Yenbumrung Chulalongkorn University
  • Pitch Pongsawat Chulalongkorn University

คำสำคัญ:

พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท, เศรษฐศาสตร์การเมือง, ความเป็นเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.ศึกษาปัจจัยการกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท 2.ศึกษาปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจของการเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท  ใช้กรณีศึกษาตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม  อันได้แก่ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม กลุ่มทุน และประชาชนกลุ่มต่างๆ ในคลองสาม และข้อมูลทุติยภูมิได้มาจากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทในคลองสาม เกิดจากพื้นที่คลองสามเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่คลองหลวง พื้นที่คลองหลวงมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการขยายตัวของทุนต่างๆ ที่เข้ามา ประกอบกับภาครัฐที่พัฒนาพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่คลองสามจึงถูกพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของทุนอุตสาหกรรมในอำเภอคลองหลวง อีกทั้งพื้นที่มีเจ้าที่ดินครอบครองที่ดินขนาดใหญ่ ได้เปลี่ยนมือของกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นายทุนจัดสรร โดยมีแรงต้านจากเกษตรกรผู้เช่าที่ดินนั้นน้อยมาก เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ และอำนาจการต่อรองใดๆ และที่สำคัญนายทุนได้ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของสถาบันผังเมืองที่เกิดผังเมืองช้า ทำให้พื้นที่คลองสามเปลี่ยนสู่เมืองรวดเร็วมาก สำหรับปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจเมื่อพื้นที่เปลี่ยนเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทแล้วระหว่างท้องถิ่น กลุ่มทุน ประชาชน เป็นไปในลักษณะที่พึ่งพา เอื้อผลประโยชน์ และขัดแย้ง เอาเปรียบกัน กระทำผ่านการช่วงชิงที่ดินเป็นสำคัญ ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับกลุ่มทุน เป็นในลักษณะมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน มุ่งหน้าพัฒนาให้พื้นที่เป็นเมืองเพื่อเอื้อการสะสมทุน โดยท้องถิ่นเก็บรายได้ในรูปของภาษีเป็นการตอบแทน นอกจากนี้ความสัมพันธ์ของกลุ่มทุนและประชาชนเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การเอาเปรียบเรื่องที่ดิน ผ่านการขับไล่กลุ่มคนดั้งเดิมออกจากพื้นที่ และมุ่งสะสมกำไรอย่างไร้ความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน สร้างภาระและความเดือดร้อนให้กับท้องถิ่นและประชาชน

References

Anthony, O. (2011). Urbanization, Encyclopedia of social theory. Thousand Oaks : SAGE.
G., Flanagan William. (1993). Contemporary Urban Sociology. Cambrige: Cambridge University Press.
Lefebvre, Henri. (1991). the production of space. Blackwell: Oxford.
Rakodi, C. (1998). Review of the Poverty Relevance of the Peri-urban Interface Production System Research. Report for the DFID Natural resorces Systems Research Programme, 2nd Draft
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2560). เมือง กิน คน แถลงการณ์ว่าด้วยเรื่องนคราภิวัฒน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะเมืองของไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย