การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับการบรรลุธรรม

ผู้แต่ง

  • พระสาทิพย์ อนาลโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดสมชาย ปโยโค มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบรรลุธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อหลักปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปฏิจจสมุปบาทกับการบรรลุธรรม

ผลการวิจัยพบว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักการสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ที่ได้แสดงถึง กระบวนการของกฎของธรรมชาติ เป็นหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยในลักษณะที่เป็นลูกโซ่ตลอดสาย ทั้งสายเกิดและสายดับ ในวิถีทางแห่งชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายโดยหลักปฏิจจสมุปบาทมีความสัมพันธ์กับองค์ธรรมที่เป็นกระบวนการ คือ ขันธ์ 5, ไตรลักษณ์, อริยัจ์ 4 และมรรค 8

การบรรลุธรรม เป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา โดยผู้มุ่งหวังเพื่อบรรลุธรรมจะต้องเป็นผู้รู้แจ้งในอริยสัจ 4 และวิธีการฝึกหัดพัฒนาตนตามกรอบของอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ ผ่านกระบวนการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาตนให้เข้าถึงสภาวธรรมแห่งการบรรลุธรรมตั้งแต่ขั้นโสดาบันจนถึงพระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระอริยสาวก

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปฏิจจสมุปบาทกับการบรรลุธรรม พบว่า หลักปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยในวงจรของชีวิตมนุษย์ โดยเริ่มจากตัวอวิชชา ตลอดจนชรา มรณะ เป็นต้น อวิชชา คือความไม่รู้ ในขันธ์ 5 พระไตรลักษณ์ มีอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา มีการเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้น ที่เป็นกฎสำคัญแห่งธรรมชาติอันเป็นสายเกิด ส่วนการบรรลุธรรมนั้น มีความสัมพันธ์กันกับหลักปฏิจจสมุปบาท เพราะผู้ที่จะบรรลุธรรมต้องเป็นผู้รู้แจ้งในกฎธรรมชาติ คือ เป็นผู้ละอาสวกิเลสและสังโยชน์ทั้งหลาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัยแห่งวงจรชีวิตที่เป็นสายดับ โดยเฉพาะพัฒนาตนถูกต้องตามหลักไตรสิกขา จนได้บรรลุปัญญาสูงสุด คือ พระนิพพาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย