Efficiency of the salt tablets coating with Alpinia galanga extract against Aedes aegypti Larvae

Authors

  • Ratchakorn Hongkul

Keywords:

salt tablets coating, Alpinia galanga extract, Aedes aegypti Larva

Abstract

ยุงเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
การป้องกันและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคนั้นยังคงนิยมใช้สารเคมีสำหรับฆ่าลูกน้ำยุงลาย งานวิจัยนี้
เป็นการศึกษาเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเม็ดเกลือเคลือบสารสกัดข่าในการกำจัด
ลูกน้ำยุงลาย โดยศึกษาอัตราส่วนของสารสกัดข่าในการก้ำจัดลูกน้ำยุงลายที่ความเข้มข้นร้อยละ 0 (ควบคุม),
0.5, 1.0 และ 1.5 ที่ระยะเวลาการออกฤทธิ์ 24 ชั่วโมง อัตราการตายของลูกน้ำยุงลายที่ระยะเวลาการออกฤทธิ์
7 วัน ของเม็ดเกลือเคลือบสารสกัดข่า และวิเคราะห์ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ Dissolved Oxygen (DO)
อุณหภูมิ และค่าพีเอช (pH) ในน้ำทั้งก่อน-หลังการทดสอบ ผลการทดสอบพบว่า อัตราส่วนที่ความเข้มข้นร้อยละ
1.5 สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ดีที่สุด อัตราการตายของลูกน้ำยุงลายเท่ากับ ร้อยละ 100 ประสิทธิภาพของ
เม็ดเกลือเคลือบสารสกัดข่ากำจัดลูกน้ำยุงลาย พบว่า เมื่อใช้เม็ดเกลือเคลือบสารสกัดข่าที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5
ค่าเฉลี่ยอัตราการตายของลูกน้ำยุงลาย เท่ากับ ร้อยละ 94.60 รองลงมาคือ ถ้าใช้เม็ดเกลือที่ไม่เคลือบสารสกัดข่า
ค่าเฉลี่ยอัตราการตายของลูกน้ำยุงลาย เท่ากับ ร้อยละ 46.60 และชุดควบคุม ไม่พบการตายของลูกน้ำยุงลาย
สำหรับผลค่าเฉลี่ยของปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) อุณหภูมิ และค่าพีเอช (pH) พบว่า คุณภาพน้ำทั้งก่อน
และหลังทุกการทดสอบมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาส่วนภูมิภาค แสดงว่าเม็ดเกลือเคลือบสาร
สกัดข่าที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 มีฤทธิ์เป็นพิษต่อลูกน้ำยุงลาย สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางเลือก
แทนการใช้สารเคมีในการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

--

Downloads

Published

2019-04-29

How to Cite

1.
Hongkul R. Efficiency of the salt tablets coating with Alpinia galanga extract against Aedes aegypti Larvae. J Med Health Sci [Internet]. 2019 Apr. 29 [cited 2024 Apr. 20];26(1):29-37. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/185693