ความสามารถและการพัฒนาตนเองของนักจิตวิทยาคลินิกไทย

ผู้แต่ง

  • ส่องโสม พึ่งพงศ์ แขนงวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (Faculty of Psychology (clinical psychology unit), Saint Louis College)

คำสำคัญ:

การพัฒนาเชิงวิชาชีพ, ความสามารถทางคลินิก, นักจิตวิทยาคลินิกไทย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถด้านการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสามารถด้านการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาลักษณะการพัฒนาตนเอง และ 4) ศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของนักจิตวิทยาคลินิกไทย

วิธีการ: ประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักจิตวิทยาคลินิกไทยทั้งหมดที่ปฏิบัติงานอยู่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักจิตวิทยาคลินิกทั่วประเทศที่ได้รับจดหมายขอความร่วมมือเข้าร่วมวิจัยและยินยอมตอบแบบสำรวจ จำนวน 303 ราย (self selected sample) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสำรวจความสามารถและการพัฒนาตนเองของนักจิตวิทยาคลินิกไทย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อสำรวจระดับความสามารถทางคลินิก และการพัฒนาตนเองตามบทบาทวิชาชีพ โดยเครื่องมือดังกล่าวผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และความเชื่อมั่นแบบวัดความสอดคล้องภายใน (reliability: internal consistency method) ของแบบสำรวจฯ สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุคูณ (multiple regressions analysis)

ผล: กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาตนเองแต่มีความถี่ของการพัฒนาตนเองที่จำกัด โดยร้อยละ 55.3 มีประสบการณ์การฝึกอบรมน้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง คะแนนความสามารถเฉลี่ยด้านการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก และด้านความสามารถด้านการบำบัดรักษาทางจิตวิทยาอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้คะแนนฯ มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ทางคลินิก ความถี่ในการศึกษาผลงานวิชาการและงานวิจัยต่างประเทศ และการเข้าประชุมวิชาการสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป: นักจิตวิทยาคลินิกไทยควรเพิ่มโอกาสพัฒนาตนเองให้มากขึ้นทั้งในด้านทักษะ องค์ความรู้ ตลอดจนประสบการณ์ทางคลินิก

References

1. สมทรง สุวรรณเลิศ. 30 ปี จิตวิทยาคลินิกไทย [30 years Thai clinical psychology]. วารสารจิตวิทยาคลินิก. 2549;37:1-8. Thai.

2. สุพิน พรพิพัฒน์กุล. ประวัติสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย ฉบับแก้ไข 26 มกราคม 2554 [History of Thai Clinical Psychologist Association, edited January 26, 2011]. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย; 2554 [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2559]. จาก: https://www.thaiclinicpsy.org/index.php/2015-04-03-16-13-20/2015-04-03-23-57-53 Thai.

3. สมทรง สุวรรณเลิศ. 30 ปี จิตวิทยาคลินิกไทย [30 years of Thai clinical psychology], ใน: งานประชุมวิชาการสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2549; โรงแรมริชมอนด์, นนทบุรี; 2549. Thai.

4. สำนักข้าราชการพลเรือน. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (สายงานจิตวิทยา) พ.ศ. 2551 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 17 กันยายน 2553 [Position standard criteria (psychology) year 2008, amended version September 17, 2010] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักข้าราชการพลเรือน. 2553 [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2559]. จาก: https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/job_specification/3-6-003-0.pdf Thai.

5. Association of State and Provincial Psychology Boards, the United States of America. Jurisdictional handbook [Internet]. 2012 [cited 2016 May 1]. Available from: www.asppb.org

6. Huey DA, Britton PG. A portrait of clinical psychology. J Interprof Care. 2002;16:69-78.

7. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก. มาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก [Professional standards for the art of healing in clinical psychology]. กรุงเทพฯ: สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2559. Thai.

8. สรรเสริญ นามพรหม. ตำแหน่งนักจิตวิทยาและนักจิตวิทยาคลินิกในกระทรวงสาธารณสุข [Positions for psychologist and clinical psychologist in Ministry of Public Health], ใน: ที่ประชุมการเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก; 25 กรกฎาคม 2560; นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต. Thai.

9. พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2546 [Royal Decree: announcement for the art of healing in clinical psychology as in Act 1999 2003]. ราชกิจจานุเบกษา. 23 กรกฎาคม 2546;120(72ก):1-4. Thai.

10. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก. ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก เรื่อง เกณฑ์และแบบประเมินเพื่อรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาจิตวิทยาคลินิก พ.ศ. 2558 [Profession Commission’s Resolution: accreditation criteria for academic institutions providing degree programs in clinical psychology year 2015]. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก; 2558. Thai.

11. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก. ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก เรื่อง การรับสมัครและการสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก ประจำปี 2559 [Profession Commission’s Resolution: clinical psychology licensing application and examination year 2016]. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก; 2559. Thai.

12. สำนักสถานพยาบาลและกองการประกอบโรคศิลปะ. สถิติผู้ประกอบโรคศิลปะ ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 [Statistical data of licensed professionals at September 30, 2015] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักสถานพยาบาลและกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2559]. จาก: https://mrd.hss.moph.go.th/uploadFiles/document/D00000001602_26712.pdf Thai.

13. สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย. ฐานข้อมูลสมาชิก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 [Member database at December 31, 2015]. Thai.

14. American Psychological Association. A practical guidebook for the competency benchmarks. Washington D.C.: American Psychological Association; 2012.

15. American Psychological Association. Guidelines and principles for accreditation of programs in professional psychology [Internet]. 2013 [cited 2016 May 1]. Available from: https://www.apa.org/about/policy/accreditation-archived.pdf

16. American Psychological Association. Guidelines on multicultural education, training, research, practice, and organizational change for psychologists. Am Psychol. 2002;58:377-402.

17. American Psychological Association. Revised competency benchmarks for professional psychology. Washington D.C.: American Psychological Association; 2011.

18. The American Board of Professional Psychology. Clinical psychology competencies [Internet]. 2016 [cited 2016 May 1]. Available from: https://www.abpp.org/i4a/pages/index.cfm?pageid=3307

19. The British Psychological Society’s Committee for Scrutiny of Individual Clinical Qualifications. Core competencies–clinical psychology–a guide. Leicester: The British Psychological Society; 2006.

20. Australian Psychological Society. Clinical psychology [Internet]. 2016 [cited 2016 May 1]. Available from: www.psychology.org.au/public/clinical/.

21. กรมสุขภาพจิต. พจนานุกรมสมรรถนะกรมสุขภาพจิต คำอธิบาย เครื่องบ่งชี้พฤติกรรม รายการ ระดับสมรรถนะที่ใช้ในระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน [Department of Mental Health’s competency criteria: definition, indicator, list, level of competencies in practical outcome management system]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2554. Thai.

22. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, บรรณาธิการ. แนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวช สำหรับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [Guidelines for quality enhancement in mental health and psychiatry service systems for general hospital, provincial hospital, community hospital, and sub-district health promoting hospital]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2555. Thai.

23. Alainati S, AlShawi SN, Al-Karaghouli. The effect of education and training on competency. European and Mediterranean Conference on Information Systems 2010 [Internet]. 2009 April 12-13; Abu Dhabi, UAE; 2010 [cited 2016 May 1]. Available from: https://core.ac.uk/download/pdf/336830.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-18

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ