การสำรวจความวิตกกังวลในเวชปฏิบัติจิตเวชกรรมของแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปีการศึกษา พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • ชนกานต์ ชัชวาลา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา (Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Songkla)
  • จตุรพร แสงกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา (Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Songkla)

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, แพทยศาสตรบัณฑิต, แพทยศาสตรศึกษา, เวชปฏิบัติจิตเวชกรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความวิตกกังวลในเวชปฏิบัติจิตเวชกรรมของบัณฑิตแพทย์ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา พ.ศ. 2560

วิธีการ: เป็นการสำรวจแบบพรรณนาภาคตัดขวางในบัณฑิตแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว การเรียน และลักษณะงาน 2) แบบสอบถามเรื่องความวิตกกังวลต่อสมรรถนะในเวชปฏิบัติจิตเวชกรรม โดยอ้างอิงตามหลักสูตรของการเรียนการสอนวิชาเวชปฏิบัติจิตเวชกรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R และใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอเป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผล: บัณฑิตแพทย์ที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 118 คน ส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุเฉลี่ย 24.5 ปี (ร้อยละ 64.4) ภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ (ร้อยละ 89.8) บัณฑิตแพทย์ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50.0) แสดงความกังวลต่อสมรรถนะของตนมากที่สุดในหมวดจิตเวชฉุกเฉิน ในการดูแลผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง ผู้ป่วยจิตเวชเด็ก บัณฑิตแพทย์มีความวิตกกังวลในการวินิจฉัยและรักษาภาวะบกพร่องทางสติปัญญามากที่สุด (ร้อยละ 33.9 และ ร้อยละ 38.1) ในขณะที่โรคจิตเวชผู้ใหญ่ มีความวิตกกังวลในการวินิจฉัยและรักษาโรคยาเสพติด (ร้อยละ 28.0) ในภาพรวมบัณฑิตแพทย์ระบุว่าวิตกกังวลในการดูแลรักษาผู้ป่วยนอกและการใช้ยาจิตเวช

สรุป: บัณฑิตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปีการศึกษา พ.ศ. 2560 มีความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยจิตเวชเด็ก และการรักษาด้วยการใช้ยา โดยระบุว่ามีความวิตกกังวลในการดูแลรักษาภาวะจิตเวชฉุกเฉิน และโรคสารเสพติด

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. World Health Organization. WHO mental health gap action programme (mhGAP) [Internet]. Geneva: WHO; 2018 [cited 2018 Mar 10]. Available from: https://www.who.int/mental_health/mhgap/en/

2. Knaak S, Mantler E, Szeto A. Mental illness-related stigma in healthcare. Healthc Manage Forum. 2017;30:111-6.

3. Fleury M, Farand L, Aube D, Imboua A. Management of mental health problems by general practitioners in Quebec. Can Fam Physician. 2012;58:732-8.

4. Chaudhary R, Mishra B. Knowledge and practices of general practitioners regarding psychiatric problems. Ind Psychiatry J. 2009;18:22-6.

5. Cowan J, Raja S, Naik A, Armstrong G. Knowledge and attitudes of doctors regarding the provision of mental health care in Doddaballapur Taluk, Bangalore Rural district, Karnataka. International Journal of Mental Health Systems. 2012;6:21.

6. Fleury M, Imboua A, Aube D, Farand L, Lambert Y. General practitioners' management of mental disorders: a rewarding practice with considerable obstacles. BMC Family Practice. 2012;13:19.

7. แพทยสภา : The Medical Council of Thailand [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2561]. จาก: https://www.tmc.or.th/tmc_training.php Thai.

8. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. การจัดการเรียนการสอนของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561]. จาก: https://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/elearning/ Thai.

9. Davison G. Abnormal psychology. Mississauga, Ont.: John Wiley & Sons Canada; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-18

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ