ความคงตัวของยาเม็ด haloperidol, perphenazine และ trihexyphenidyl หลังจากบดและผสมน้ำ

ผู้แต่ง

  • สุพาณี ตันตะโนกิจ, ภ.ม. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • ภูริ พุ่มไพศาลชัย, ภ.บ. โรงพยาบาลสวนปรุง

คำสำคัญ:

ความคงตัว, haloperidol, perphenazine, trihexyphenidyl

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความคงตัวของตัวยาในยาเม็ด haloperidol, perphenazine และ trihexyphenidyl หลังบดผสมน้ำและเก็บที่อุณหภูมิ 300C นาน 24 ชั่วโมง 

วิธีการ: สุ่มยาเม็ด haloperidol 2, 5 และ 10 มก. ยาเม็ด perphenazine 8 มก. และยาเม็ด trihexyphenidyl 2 และ 5 มก. ที่ใช้ในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ชั่งน้ำหนักเม็ดยา 20 เม็ด หาน้ำหนักเฉลี่ยต่อเม็ด บดให้เป็นผงแล้วชั่งผงยามาเท่ากับน้ำหนักยา 1 เม็ด ผสมน้ำ 25 มล.ตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 300C นาน 0, 1, 3, 6 และ 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ตัวยาที่เวลาต่างๆ ด้วยวิธี HPLC ที่ผ่านการตรวจสอบหาความถูกต้องตามเกณฑ์  ICH Q1A(R2) หาความเป็นเส้นตรง ความแม่นยำ ความถูกต้องและความจำเพาะในการวิเคราะห์ ปริมาณตัวยาที่วิเคราะห์ได้จากสารละลายตัวอย่างยาเม็ดหลังเก็บไว้นาน 1, 3, 6 และ 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ตัวยาเทียบกับตอนเริ่มต้น แต่ละจุดวิเคราะห์ซ้ำ 3 ครั้ง

ผล: ปริมาณดูดซึมแสงของยาเม็ด haloperidol 2, 5, 10 มก. ยาเม็ด perphenazine 8 มก. และยาเม็ด  trihexyphenidyl 2 และ 5 มก.หลังบดผสมน้ำ 1, 3, 6 และ 24 ชั่วโมงไม่แตกต่างจากก่อนบดผสมน้ำ เมื่อเทียบปริมาณตัวยาที่วัดได้ตอนเริ่มต้น ร้อยละของตัวยาที่ตรวจพบในเวลาต่างๆ มีปริมาณอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้เมื่ออิงตามแนวทางของ ICH Q1A(R2) คือ ร้อยละ 95.0-105.0

สรุป: วิธีวิเคราะห์นี้นำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์หาตัวยา haloperidol, perphenazine และ trihexyphenidyl ในยาเม็ดได้  การบดผสมน้ำไม่กระทบต่อความคงตัวของยาเม็ด แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงด้วย ได้แก่ การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ รสชาติของยาหลังบดผสมน้ำ

References

1. รณชัย โตสมภาค. ระบบศาลสุขภาพจิต: แนวทางการบริหารจัดการผู้กระทำผิดกฏหมายที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต [Mental health court system:guidelines for managing offenders with mental health] [อินเตอร์เน็ต]. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2562]. จาก: https://cdc.parliament.go.th Thai.

2. ห่วงเยาวชนไทย กระทำผิดจาการป่วยทางจิตมากขึ้น [Concerning thai youths commit more memtal illness] [อินเตอร์เน็ต]. ไทยรัฐ. 12 มิ.ย. 2557. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2562] จาก: https://www.thairath.co.th/content/429033 Thai.

3. สถาบันกัลยาณ์ฯ ขยายการบริการหลังผู้ป่วยทางจิตล้น ยาเสพติด-ไบโพลาร์-ซึมเศร้า [Psychiatric patients at Galyarajanagarindra institute 3 times more than the bed] [อินเตอร์เน็ต]. มติชน. 1 ต.ค. 2559 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2562] จาก: https://wwwbangkokbiznews.com/news/detail705278 Thai.

4. กมลชนก มนตะเสวี, ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์, วิชชุดา จันทราษฎร์. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ [The studies of mental health problems among thai prisoners and psychiatric services in thai prisons]. กรุงเทพฯ:สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต; 2561. Thai.

5. ชูนุช เจริญพร. การพัฒนางานบริการผู้ต้องขังป่วยจิตเวช [the development of psychiatric prison services]. เอกสารที่นำเสนอในการประชุม: การประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนางานบริการผู้ต้องขังป่วยจิตเวช; 8 มิ.ย. 2561; โรงพยาบาลราชทัณฑ์ นนทบุรี. Thai.

6. กรมราชทัณฑ์, กองบริการทางการแพทย์. แนวทางการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ/ทัณฑสถานตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 [Guidelines for mental health and psychiatric care for prisoners in prison according to the mental health act: Department of Corrections]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551. Thai.

7. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์. สรุปผลนิเทศติดตามการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำ [Summary of supervisory results development of mental health service systems for psychiatric prisoners in prison Bangkok]. กรุงเทพฯ; 2560. Thai.

8. เดชพล ปรีชากุล, รติยา คูเขตพิทักษ์วงศ์. การทดสอบความคงตัวของยาน้ำเชื่อม ranitidine HCL ที่เตรียมจากยาเม็ด [Stability test of ranitidine hcl syrup prepared by tablets] [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561] จาก: https://www.thaihp.org/index.php?option=other_detail&lang=th&id=25&sub=26 Thai.

9. ชญานิศ ศรชัยธวัชวงศ์, วัฒนพร พัฒนภักดี, บุญตา ฉัตร์วีระสกุล, จิตรลดา นุ่มเจริญ, ณิชากร ทวีทุน, นวภรณ์ วิมลสาระวงศ์. การศึกษาความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวแคปโตพริลในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน [Stability assessment of extemporaneous captopril oral suspension]. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2558;11(3):36-47. Thai.

10. ทรงพร จึงมั่นคง, สาลินี ณ ระนอง, สิริลักษณ์ รักษ์รอด, สาโรจน์ อ่อนละออ, วริษฎา ศิลาอ่อน. การศึกษาความคงตัวในสภาวะเร่งขอยาเตรียมเฉพาะคราวรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนและผลแห้งผสมกระสายยาก่อนใช้สำหรับยาน้ำแขวนตะกอนของยาอะเซ็ตตาโซลามายด์ และยาฟูโรซีมายด์ [Accelerated stability testing of extemporaneous suspensions and reconstituted powder for suspensions of acetazolamide and furosemide]. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2556;9:32-9. Thai.

11. เจษฎา นพวิญญูวงศ์, อรปภา ชัยเลิศวาณิช. ความคงตัวทางเคมีของยาน้ำแขวนตะกอนฟีนัยโตอินเตรียมเฉพาะหน้า [Chemical stability of phenytoin suspension extemporaneously prepared]. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2557;9(3):12-7. Thai.

12. ICH Q1A(R2). ICH harmonised triple guideline [internet]. stability testing of new drug substances and products; 2003. [cited 2017 Mar 30]. Available from: https://www.ich.org/fileadmin/Public_Web_Site/ICH_Products/Guidelines/Quality/Q1A_R2/Step4/Q1A_R2_Guideline.pdf

13. ICH Q2(R1) ICH Harmonized Tripartite Guideline .Validation of analytical procedures: text and methadology Q2(R1) [Internet]. International conference on harmonization; Geneva, Switzerland. [cited 2017 Mar 30]. Available from: htttp://www.fda.gov/downloads/Drugs/GuidanceComplianceRegulatoryInformation/Guideances/UCM073381.pdf

14. USP32-NF27 haloperidol tablets [Internet]. [cited 2017 Mar 30]. Available from: https://www.uspbpep.com/usp32/pub/data/v32270/usp32nf27s0_m62590.html

15. USP32-NF27 perphenazine tablets [Internet]. [cited 2017 Mar 30]. .Available from:https://www.uspbpep.com/usp32/pub/data/v32270/usp32nf27s0_m62590.html

16. USP32-NF27 trihexyphenidyl hydrochloride tablets [Internet]. [cited 2017 Mar 30]. Available from: https://www.uspbpep.com/usp32/pub/data/v32270/usp32nf27s0_m62590.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-09

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ