ปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)
  • ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)
  • เสาวลักษณ์ คงสนิท วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)

คำสำคัญ:

ความแข็งแกร่งในชีวิต, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ปัจจัยทำนาย, ผู้สูงอายุ, สถานสงเคราะห์คนชรา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้

วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้ สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเลือกสถานสงเคราะห์คนชราในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 3 แห่ง จากทั้งหมด 5 แห่ง ข้อมูลเก็บรวบรวมจากจากผู้สูงอายุตามเกณฑ์ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง สัมภาษณ์โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยแบบหลายขั้นตอน

ผล: สุขภาพกาย ความสัมพันธ์ทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุข มีความสัมพันธ์ทางบวก และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสุขและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราที่สำคัญ โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความแข็งแกร่งในชีวิตกลุ่มตัวอย่างนี้ได้ ร้อยละ 34.0

สรุป: การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตให้กับผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชรา ควรส่งเสริมความสุข การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสัมพันธ์ทางสังคม สุขภาพกายของผู้สูงอายุ และลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

Author Biography

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)



References

1. สมพร อินทร์แก้ว, เยาวนาฎ ผลิตนนทเกียรติ, ศรีวิภา เนียมสอาด, สายศิริ ด่านวัฒนะ. พลังสุขภาพจิต [Resilience Quotient]. นนทบุรี: สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2552. Thai.

2. พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, โสภิณ แสงอ่อน. ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้ [A resilience: concept evaluation and apply].กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด; 2558. Thai.

3. American Psychological Association. Road to resilience [Internet]. Washington, DC: American Psychological Association; 2016 [cited 2016 Jan 20] Available from: https://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx

4. Richardson GE, Neiger BL, Jensen S, Kumpfer KL. The resiliency model. Health Education. 1990;21:33-9. Doi:10.1080/00970050.1990.10614589.

5. Fontes AP, Neri AL. Resilience in aging: literature review. Cien Saude Colet. 2015;20:1475-95. Doi:10.1590/1413-81232015205.00502014.

6. Ong AD, Bergeman CS, Bisconti TL, Wallace KA. Psychological resilience, positive emotions, and successful adaptation to stress in later life. J Pers Soc Psychol. 2006;91:730-49. Doi:10.1037/0022-3514.91.4.730

7. Hardy SE, Concato J, Gill TH. Resilience of community-dwelling older persons. J Am Geriatr Soc. 2004;52:257-62.

8. Demakakos P, Netuveli G, Cable N, Blane D. Resilience in older age: a depression-related approach. In: Banks J, Breeze E, Lessof C, Nazroo J, editors. Living in the 21st century: older people in England. The 2006 English Longitudinal Study of Ageing (Wave 3) [Internet]. London:The Institute for Fiscal Studies; p.186-221. [cited 2016 Jan 20] Available from https://www.elsa- project.ac.uk/uploads/elsa/report08/ch6.pdf

9. Gooding PA, Hurst A, Johnson J, Tarrier N. Psychological resilience in young and older adults, Int J Geriatr Psychiatry. 2012;27:262-70. Doi:10.1002/gps.2712.

10. Nygren B, Aléx L, Jonsén E, Gustafson Y, Norberg A, Lundman B. Resilience, sense of coherence, purpose in life and self-transcendence in relation to perceived physical and mental health among the oldest old. Aging Ment Health. 2005;9:354-62.

11. Smith PR. Resilience: resistance factor for depressive symptom. J Psychiatr Ment Health Nurs. 2009;16:829-37. Doi:10.1111/j.1365-2850.2009.01463.x.

12. Gallacher J, Mitchell C, Heslop L, Christopher G. Resilience to health related adversity in older people. Qual Ageing Older Adults.. 2012;13:197-204. Emerald Quality in Ageing and Older Adults [Internet]. 2012 [cited 2016 Aug 15] Available from: https://www.emeraldinsight.com/doi/full/Doi: 10.1108/14717791211264188.

13. Windle G, Markland DA, Woods RT. Examination of a theoretical model of psychological resilience in older age. Aging Mental Health. 2008;12:285–2. Doi:10.1080/13607860802120763.

14. Bennett KM. How to achieve resilience as an older widower: turning points or gradual change? Ageing Soc. 2010;30:369-82. Doi:10.1017/S0144686X09990572.

15. MacLeod S, Musich S, Hawkins K, Alsgaard K, Wicker ER. The impact of resilience among older adults. Geriatr Nurs. 2016;37:266-72. Doi: 10.1016/j.gerinurse.2016.02.014.

16. Centre for Policy on Ageing (CPA). Resilience in Older Age [Internet]. London: Centre for Policy on Ageing; 2004 [Update 2017; cited 2017 Apr 10]. Available from: https://www.cpa.org.uk /information/reviews/CPA-Rapid-Review-Resilience-and-recovery.pdf

17. Moyle W, Clarke C, Gracia N, Reed J, Cook G, Klein B, et al. Older people maintaining mental health well-being through resilience: an appreciative inquiry study in four countries. J Nurs Healthc Chronic Illn. 2010;2:113-21. Doi:10.1111/j.1752-9824.2010.01050.x

18. Shen K, Zeng Y. The association between resilience and survival among Chinese elderly. Demogr Res. 2010;23:105-16.Doi:10.4054/DemRes.2010.23.5.

19. จิราลักษณ์ จงสถิตมั่น พรประภา สินธุนาวา และนภัส ศิริสัมพันธ์. รายงานวิจัยเรื่องการประเมินสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐ: ศึกษาเฉพาะกรณีสถานสงเคราะห์ 3 แห่ง [An Evaluation of Governmental Homes for the Aged: Case Studies of the Three Homes for the Aged]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543. Thai.

20. ธนัญพร พรมจันทร์ และศิริลักษณ์ ศุภปีติพร. ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแคและที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร [Depression loneliness and self-esteem of the elderly in Bangkae Home and private homes for the aged in Bangkok]. เวชศาสตร์ร่วมสมัย. 2557;58:545-61. Thai.

21. สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถานการณ์ทางสังคมของพื้นที่ระดับภาค: กรณีพื้นที่ภาคใต้ [Social situation of regional level: A case of southern area] [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2559] จาก: https://www.m-society.go.th/article_attach/9009/11575.pdf. Thai.

22. อมรากุล อินโอชานนท์, กาญจนา วณิชรมณีย์, ชิดชนก โอภาสวัฒนา. คู่มือการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [Handbook of dementia care for health personnel in Health Promotion Hospital]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.39-43. Thai.

23. Maneerat S, Isaramalai S-A, Boonyasopun U. A conceptual structure of resilience among Thai elderly. International Journal of Behavioral Science. 2011;6:26-40.

24. ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ [Factors influencing loneliness of the elderly in social welfare development center for older persons] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558. Thai.

25. กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย [Thai Geriatric Depression Scale]. สารศิริราช. 2537;46:1-9. Thai.

26. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดกิจกรรม "ฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ" สำหรับศูนย์เพื่อนในวัยรุ่น [Handbook of “Problem solving to develop EQ” For TO BE NUMBER ONE Friend Corner]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2547. 29-33. Thai.

27. อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทสังคมไทย [Happiness and mental health in the context of the Thai society]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;46:227-32. Thai.

28. Polit DF, Beck CT. The Content Validity Index: are you sure you know what’s being reported? critique and recommendations. Res Nurs Health. 2006;29:489–97.

29. กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล [Data analysis with SPSS for windows]. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.369-73. Thai.

30. Resnick BA, Inguito PL. The Resilience Scale: psychometric properties and clinical applicability in older adults. Arch Psychiatr Nurs. 2012;25:11-20. Doi: 10.1016/j.apnu.2010.05.001

31. กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, เสาวลักษณ์ คงสนิท. การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราของพื้นที่ภาคใต้ [Development of resilience-enhancing program for elderly nursing home residents of southern area]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561. Thai.

32. Multiple regression analysis: Use adjusted R-Squared and predicted R-Squared to include the correct number of variables [Internet]. 2013 [cited 2019 Feb 3]. Available from: https://blog.minitab.com/blog/adventures-in-statistics-2/multiple-regession-analysis-use-adjusted-r-squared-and-predicted-r-squared-to-include-the-correct-number-of-variables

33. Hildon Z, Montgomery SM, Blane D, Wiggins RD, Netuveli G. Examining resilience of quality of life in the face of health related and psychosocial adversity at older ages: what is "right" about the way we age? Gerontologist. 2010;50:36-47. Doi: 10.1093/geront/gnp067

34. Wells M. Resilience in older adults living in rural, suburban, and urban areas. Online J Rural Nurs Health Care. 2010;10:45-54. Doi:10.14574/ojrnhc.v10i2.55

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-19

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ