แบบจำลองสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบจำลองสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ 51 สถานี จำนวน 408 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และใช้โปรแกรมทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการประมาณค่าแบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ \inline \dpi{100} \chi ^{2}(df = 107) 302.25 sig = 0.000, \inline \dpi{100} \chi ^{2}/df = 2.825, CFI = 0.98, NNFI = 0.98, RMSEA = 0.067 (ช่วงความเชื่อมั่น 0.058 ถึง 0.076), SRMR = 0.043 โดยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ คือ การปฏิบัติงานตามสถานการณ์ และความยุติธรรมในองค์การ ในขณะที่ แรงจูงใจให้บริการสาธารณะ ความรักผูกพันในงาน และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ โดยส่งผ่านการปฏิบัติงานตามสถานการณ์ กล่าวได้ว่าการปฏิบัติงานตามสถานการณ์ และความยุติธรรมในองค์การเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ รวมถึงการที่ข้าราชการตำรวจมีแรงจูงใจในการที่จะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม มีความรักผูกพันต่องานที่ตนเองปฏิบัติ และมีผู้บังคับบัญชาที่มีลักษณะของการกระตุ้นจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใช้ความพยายามเพื่อการบรรลุเป้าหมายและเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ย่อมส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ โดยผ่านการปฏิบัติงานตามสถานการณ์

 

Structural Equation Model of the Relationship of Behavior toward the Polices’ Performance in Southern Border Provinces of Thailand

This study is a quantitative research. The goal of the current study was to examine structural equation model of the relationship of behavior toward the polices’ performance in Southern Border Provinces of Thailand. The study was undertaken in fifty one police stations, the subjects consist of four hundred and eight policemen. Data collected by questionnaires and statistical program was used to analyze the data. As for the structural equation model, included goodness of fit with empirical data \inline \dpi{100} \chi ^{2} (df = 107) 302.25 sig = 0.000, \inline \dpi{100} \chi ^{2} /df = 2.825, CFI = 0.98, NNFI = 0.98, RMSEA = 0.067 (confidence interval 0.058, 0.076), SRMR = 0.043. The results reveal that contextual performance and organizational justice have direct significant effects on the task performance. Moreover, public service motivation, work engagement, and transformational leadership have indirect effects on task performance through contextual performance. In conclusion, contextual performance and organizational justice are the main effect to task performance of policemen. Includes of the policemen have motivation to serve the public, engage to their work, and the supervisors motivate the followers to perform for achieves the goal, these factors effect to task performance via contextual performance.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)