การพัฒนาแบบวัดการจัดการความรู้ระดับบุคคลในงานประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

กันยปริณ ทองสามสี
เพ็ญพักตร์ ทองแท้
อิสระ ทองสามสี

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการจัดการความรู้ระดับบุคคลของผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพในสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ทั้งความตรงและความเที่ยง การวิจัยมี 2 ระยะ ระยะแรกทบทวนวรรณกรรมด้านการจัดการความรู้และเครื่องมือวัด พบว่ากระบวนการจัดการความรู้แบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบ วัดได้ด้วย 15 ข้อคำถาม การตรวจสอบเครื่องมือดังกล่าวพบค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.70-1.00 และค่าความเที่ยงในแต่ละองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.82-0.89 จากนั้นนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปใช้รวบรวมข้อมูลในระยะที่สอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 261 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นตามอัตราส่วนในลำดับแรก ต่อด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดพบว่าทุกตัวแปรมีค่าน้ำหนักอยู่ระหว่าง 0.79-0.92 ถือว่าผ่านเกณฑ์ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคแต่ละองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.79-0.90 มีค่าความเชื่อมั่นขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.88-0.93 และผ่านเกณฑ์การประเมินความตรงเชิงเหมือน และความตรงเชิงจำแนก ขณะที่ผลการวิเคราะห์โมเดลการวัดอันดับที่สองพบค่าสัมประสิทธิ์ การทำนายระดับสูง 2 องค์ประกอบ และระดับปานกลาง 2 องค์ประกอบ ค่าน้ำหนักอิทธิพลรวมขององค์ประกอบที่สะท้อนผ่านการจัดการความรู้ พบว่าทุกองค์ประกอบมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0001 จากข้อมูลข้างต้นสะท้อนว่าเครื่องมือดังกล่าวมีคุณภาพและสามารถนำไปใช้วัดการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพได้

 

The Personal Knowledge Management Scale for Quality Assurance Officers in Thai Higher Education Institutions

This research was conducted to develop personal knowledge management (PKM) scale with validity and reliability for quality assurance officers in Thai tertiary institutes. In this study, two phases which included the literature review and survey research were employed. In the first phase, the literature review on knowledge management and scale found 4 factors of knowledge management which could be measured by 15 question items. The validity value of the instrument was between 0.70 and 1.00. The reliability value of each factor was between 0.82 and 0.89. This instrument was employed in data collection in the second phase. In terms of data collection, 261 samples were drawn using multi-stage random sampling method, namely proportional stratified sampling, and simple random sampling. The scale analysis showed that the loading of variables passed the criterion (which was between 0.79 and 0.92). The Cronbach’s alpha value of each factor ranged from 0.79-0.90. The composite reliability was between 0.88 and 0.93 passing both convergent and discrimination validity. The analysis of the second-order model found 2 factors with high value of determination coefficient and moderate one from other 2 factors, and also the research findings revealed the total influence of knowledgemanagement factor at a significant level of .001. Based on the information mentioned above, the instrument could be used as a scale in measuring knowledge management of quality assurance officers.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)