อิทธิพลของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรของอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ธีรพร ทองขะโชค

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กร (2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และ (3) ศึกษาขนาดความมีอิทธิพลของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรของอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลากลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์จากมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลาจำนวน 286 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนดังนี้ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ การสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้สัดส่วน และวิธีการเลือกแบบเจาะจงมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และ LISREL ผลการวิจัย พบว่า ระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลางขณะที่ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับสูงและจากการตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองสมการโครงสร้างของอิทธิพลของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรของอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลากับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า มีความสอดคล้องในระดับดี (\inline \dpi{100} \chi ^{2}=122.61, df=47, RMSEA = 0.075, SRMR = 0.061, CFI =0.98) โดยพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรของอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.64 ผลจากการวิจัยสามารถเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเสนอแนวทางในการสร้างระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้ โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมให้เกิดการมีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร โดยเฉพาะพฤติกรรมด้านความสำนึกในหน้าที่เพื่อช่วยรักษาระดับการมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรให้อยู่ระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสามารถสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าร่วมโครงการในการร่วมสนทนาและร่วมซักถามเพื่อสร้างระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรให้สูงขึ้น

 

The Influence of Organizational Citizenship Behavior towards Organizational Learning Culture of University Lecturers in Songkhla Provinces

The research was aimed at: (1) investigating the levels oforganizational learning culture, (2) studying the levels of organizational citizenship behaviors, and (3) examining the extent to which such organizational citizenship behaviors influenced the organizational learning cultures of university lecturers in Songkhla. The samples were 286 lecturers from universities in Songkhla. Multi-stage sampling was used including stratified random sampling, proportion stratified sampling and purposive sampling. The research tool used in the study was a questionnaire. SPSS and LISREL were also used to analyze data. The results of this study revealed that the overall level of the organizational learning culture of the university lecturers in Songkhla was at a moderate level. It was also found that organizational citizenship behaviors of the university lecturers in Songkhla was at a high level. The consistency check results of the structural equation model of the influence of organizational citizenship behavior towards organizational learning culture ofuniversity lecturers in Songkhlaprovincesand the empirical data were at good level (\inline \dpi{100} \chi ^{2}==122.61, df=47, RMSEA = 0.075, SRMR = 0.061, CFI =0. 9 8). The study of the influence of the organizational citizenship behaviors on the organizational learning culture of the university lecturers in Songkhla revealed that such behaviors had a positive direct effect on the cultures, and its statistical significance level was at .01 with the path coefficient of 0.64. The research findings are useful for policy makers to improve the level of organizational learning culture. The implications for this are promoting conscientiousness among organizational members to maintain the desirable level of organizational citizenship behaviors, encouraging university lecturers to participate in forum and dialogue programs for organizational learning culture practicing.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)