การประยุกต์ใช้แนวคิดสมรรถนะในการจัดการทรัพยากรมนุษย์: กรณีศึกษา บริษัทผลิตยางรถยนต์ชั้นนาระดับโลกแห่งหนึ่ง

Main Article Content

วรรณภา ลือกิตินันท์

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิด สมรรถนะในงานการจัดการทรัพยากรมนษุย์ของบริษัทผลิตยางรถยนต์ชั้นนำระดับ โลกแห่งหนึ่ง โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้จัดการการพัฒนาสายอาชีพ ผู้จัดการฝ่ าย ทรัพยากรมนษุ ย์ และผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนษุย์ ซึ่งผู้วิจัย รวบรวมข้อมลู โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview Form) และเก็บ รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเพิ่มเติม เช่น รายงานประจำปี และข้อมูล จากอินเตอร์เนตของบริษัท ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การนำแนวคิดสมรรถนะ (Competency) มาใช้ในการจัดการทรัพยากรมนษุย์ในองค์กรเริ่มจากการระบุสมรรถนะ และระดับ สมรรถนะ (Competency Level) ของพนักงานแต่ละตำแหน่งงาน จากนั้น จึง ประเมินระดับสมรรถนะของพนักงานรายบุคคล หากพบว่าพนักงานมีสมรรถนะไม่ ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนด หรือเกิดช่องว่างของสมรรถนะ (Competency Gap) บริษัท จะวางแผนเพื่อพัฒนาพนักงานเป็นรายบุคคลอย่างเร่งด่วน รวมถึงข้อมูลที่ได้จาก การประเมินสมรรถนะยังถูกนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

 

The Competency Implementation in Human Resource Management: A Case Study in Global Leading Tire Company

The study aimed to explore competency implementation in human resource management (HRM) of a global leading tire company. The researcher interviewed the career development manager, the human resource manager and the human resource practitioner by using the semistructured interview form and gathered additional secondary data; such as the company annual report and public company data from the internet. For analyzing data, the content analysis was employed. The finding revealed that the first step of competency implementation in human resource management is to identify competency and competency level in each position. Whereat, the HR department must assess employee competency level. When the company found employee competency gap, individual development plans were developed urgently. Moreover, the competency assessment results were integrated in performance appraisal and human resource planning.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)