ความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

Main Article Content

มัทนชัย สุทธิพันธ์ุ
สุนิสา สุขสวัสด์ิ
อนัญญา มาเจริญ
อมรรัตน์ เธียรพิทยามาศ
อรรณธิรา คงยวง
กนกนันท์ จุลเทพ
ญาณิศา วนิชกุลพิทักษ์
ตุลยดา จินเดหวา
นุสรา คุ้มพิทักษ์พงศ์
นูรีฮัน โต๊ะอีแม
สุดารัตน์ ไชยชนะ

Abstract

วัตถุประสงค์การศึกษาคือการตรวจสอบระดับความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างแยกตามปัจจัยพื้นฐาน คือ เพศ ระดับการศึกษา ผลคะแนนเฉลี่ย ประสบการณ์การฝึกงาน การเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ประชากรคือ นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะในระดับสูง และความรู้ความเข้าใจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตามปัจจัยของระดับการศึกษา ผลคะแนนเฉลี่ยสะสม และการเรียนรายวิชาที่เกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญมากต่อความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาได้แก่ การขาดความ กระตือรือร้นในการศึกษาเพิ่มเติม หลักสูตรไม่ได้กาหนดให้เรียนมาตรฐานการ รายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ การขาดการจัด อบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสีย สาธารณะให้นักศึกษาบัญชี

 

Perception of Accounting Student at Prince of Songkla University on Thai Financial Reporting Standards for Nonpublicly Accountable Entities

The main objectives of this study are to investigate perception of accounting student in Prince of Songkla University on Thai financial reporting standards for non-publicly accountable entities (TFRS for NPAEs), and to test for differences in groups of sample on fundamental factors; gender, level of education, grade point average, internship, and training course for TRFS for NPAEs. Population is all undergraduate accounting students in Prince of Songkla University. Data analysis consists of descriptive analysis, independent T-test, and ANOVA at significant level 0.05. The findings indicate that accounting student has high level of perception on TFRS for NPAEs and significant differences on the level of education, grade point average, and training course for TRFS for NPAEs. The problems and obstacles against perception on TFRS for NPAEs are lacking of student effort to additionally acquire knowledge, no TFRS for NPAEs in curriculum, and no training on TFRS for NPAEs.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)