ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยึดมั่นผูกพันทางใจในองค์การ ของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์

Main Article Content

วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

Abstract

งานวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยึดมั่นผูกพันทางใจในองค์การ และ อิทธิพลที่มีต่อการยึดมั่นผูกพันทางใจในองค์การของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ทั้งส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค ประชากรที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์จำนวน 11,437 คน ใช้สูตรคำ นวณ หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบประมาณสัดส่วน ตามสูตรของ ทอมสัน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 372 ตัวอย่าง ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการ สุ่มแบบแบ่งชั้น สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 410 ชุด โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง จำนวน 269 ตัวอย่าง และส่วนภูมิภาค (เรือนจำจังหวัดและเรือนจำอำเภอ) จำนวน 141 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น

ผลการวิจัยพบว่าความยึดมั่นผูกพันทางใจในองค์การโดยรวมของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.68 SD. = 0.73) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยึดมั่นผูกพันทางใจได้แก่ ความยึดมั่นผูกพันในองค์การด้านบรรทัดฐาน ความยึดมั่นผูกพันในองค์การด้านการคงอยู่ สมรรถนะด้านการจัดการ บรรยากาศในด้านลักษณะงานบรรยากาศด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานการบริหารแบบมีส่วนร่วมในขั้นดำเนินการ และสถานภาพโสด สามารถร่วมกันพยากรณ์การยึดมั่นผูกพันทางใจได้ร้อยละ 67 โดยปัจจัยด้านบรรยากาศในองค์การ จะมีอิทธิพลต่อการยึดมั่นผูกพันทางใจในองค์การ มากที่สุด มีอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 40

 

Factors Influencing the Affective Organizational Commitment of Corrections Employee

The purposes of this descriptive research are to study the organizational commitment, and Influencing Factors to the Affective Organizational Commitment of corrections employee. Data were collected from those of employee and executive of the Department of Corrections for 11,437 persons. Estimating a Proportion Sampling according to the method of Thompson is used to define sample size. At 95% level of confidence, the sample size is equal to 372 samples. Finally, 410 surveys are collected according to target; dividing into 269 surveys of central administration employee and 141 surveys of provincial administration employee (both provincial prison and district prison). The analysis techniques being used are such as arithmetic mean, standard deviation and Hierarchical regression analysis.

The result of research found that the affective organizational commitment of corrections employee appears in high level (Mean = 3.68 SD. = 0.73). Factors influencing to the affective organizational commitment are such as normative organizational commitment, continuance organizational commitment, managerial competencies, climate of work characteristics, climate of colleague relationship, participative management operational level and single status. All of these give a predictable result of 67% and factors of the organizational climate give the most impact on the organizational commitment at a predictable result of 40%.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)