สาเหตุของการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

เอมอร พลวัฒนกุล
สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ (1) ศึกษาปัญหาและสาเหตุของการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตและ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ประกอบการและผลการดำเนินการกับสาเหตุของการไม่ยื่นแบบ และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

งานวิจัยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจำนวน 233 ตัวอย่าง จากผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 3,623 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเกี่ยวกับ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตารางไขว้

ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตเกิดจากขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การคิดว่าอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ความไม่มั่นใจในระบบการตัดบัญชีเงินฝาก ขั้นตอนในการขออนุมัติและการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ยุ่งยาก ล่าช้า การขาดความรู้และความเข้าใจในกฎหมายประมวลรัษฎากร เกิดความผิดพลาดบ่อย และกลัวจะถูกเรียกตรวจสอบ จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่าอายุ ตำแหน่งหน้าที่ และการได้รับคำแนะนำมีผลต่อการขาดความรู้ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นต่อการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อเสนอแนะคือ การเพิ่มพูนศักยภาพให้ผู้ประกอบการเกิดความรู้ความเข้าใจและความมั่นใจเพิ่มขึ้น ทั้งระบบเครือข่ายและการบริการข้อมูลข่าวสาร โดยการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุ แผ่นพับ การจัดสัมมนา และจัดเจ้าหน้าที่คอยตอบปัญหาเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

 

Causes of not Submission of Tax Payment by Internet : A Case Study of Phuket Province

The objectives of this study were (1) to investigate the problems and causes that made people unwilling to submit tax application form and to pay taxes by mean of internet, and (2) to study the correlation between entrepreneurs and their operations. This research was conducted by using a questionnaire to collect data from 233 registered of value added taxpayers in Phuket. This sample group was selected from 3,623 registered of value added taxpayers. The data was analyzed by using statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation and cross tabulation.

The results showed the causes of unwilling to submit tax application form on internet were: a lack of knowledge and understanding about paying tax on internet, low confidence on the internet system, taxpayers had no confidence and were afraid of problems afterward, they felt unsafe when their money was paid out from their accounts by mean of internet which always mistakes were occurred, there was always a cause of many errors during submittal stage on internet, lack of knowledge on tax laws, taxpayers felt that application submit and approval system on internet was so complicated and took much time that the tradition system looked simpler, and taxpayers afraid of tax reviewed by the Revenue Department staff. Correlation study of age, positions of taxpayers with advice received revealed that lack of knowledge, understanding and confidence were the import causes of not using of tax payment by internet.

The suggestions are: to make taxpayers gain more knowledge and confidence will improve both internet network and information services; advertising, radio, leaflets, seminar are necessary and to provide staff to answer the inquiries is necessary.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)