ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ธีรพร ทองขะโชค
อาคม ใจแก้ว

Abstract

การศึกษานีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 260 บริษัท ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีการตอบกลับของแบบสอบถาม 228 บริษัท คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการศึกษา 1) ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (xˉ =4.32, S.D.=.379) และเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย และด้านจริยธรรมมีระดับสูงมาก ในขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการกุศลอยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางบวกต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทมากที่สุด (\inline \beta=.282, p<.001) รองลงมาคือปัจจัยการกำกับดูแลกิจการ (\inline \beta=.204, p<.001) และปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (\inline \beta=.167, p<.001) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยัง มีข้อจำกัดในการออกแบบการวิจัยที่มุ่งเน้นเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณ ดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรทำการศึกษาในเชิงคุณภาพเพื่อสร้างความความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึน้

 

The Factors Influencing Corporate Social Responsibility of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand

The purpose of this study was to investigate factors influencing Corporate Social Responsibility of listed companies in the Stock Exchange of Thailand. The research samples were 260 listed companies in the Stock Exchange of Thailand selected using multi-stage sampling. Concerning the research tool, a questionnaire was used. The returned questionnaires were from 228 companies (87%). Multiple Linear Regression Analysis was used to analyze the collected data. The research revealed as follows. 1) Corporate social responsibility on the whole was rated at a very high level (xˉ =4.32, S.D.=.379). Classified into each element, it was found that economic responsibilities, legal responsibilities and ethical responsibilities were at very high levels while philanthropic responsibilities were at a high level. 2) Transformational leadership was the most common positive effect on corporate social responsibility (\inline \beta=.282, p<.001) followed by corporate governance (\inline \beta=.204, p<.001) and stakeholder engagement (\inline \beta=.167, p<.001). As this study was designed as being quantitative, it was recommended that a qualitative research on this topic should be further conducted in order to achieve more obvious understanding.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)