ทัศนคติที่มีต่อหนี้นอกระบบในรูปสินเชื่อส่วนบุคคลของประชาชนอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

สาริษฐ์ โพธิ์ศรี
กลางใจ แสงวิจิตร
พรทิพย์ จิระธำรง
พเนิน อินทะระ

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีหนี้นอกระบบและประชาชนที่ไม่เคยเป็นหนี้ โดยแบ่งเป็น ทัศนคติต่อหนี้นอกระบบ ทัศนคติต่อลูกหนี้นอกระบบ และทัศนคติต่อเจ้าหนี้นอกระบบ และศึกษาความแตกต่างของทัศนคติจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและข้อมูลการเป็นหนี้นอกระบบ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้ยังได้ศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบธุรกิจเงินกู้นอกระบบโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ประชาชนที่เป็นหนี้มีทัศนคติต่อหนี้นอกระบบว่าเป็นเงินกู้นอกระบบสะดวก รวดเร็วและง่ายกว่าสถาบันการเงิน ส่วนทัศนคติต่อลูกหนี้นอกระบบและทัศนคติต่อเจ้าหนี้นอกระบบ ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติมองว่าลูกหนี้บางรายไม่ได้มีฐานะที่ยากจนเสมอไปแต่มีความจำเป็นที่ต้องกู้เงินนอกระบบเพื่อเอาไปหมุนเวียนธุรกิจและเจ้าหนี้นอกระบบยังคงเป็นอันตรายต่อสังคมแม้จะมีกฎหมายมารองรับ สำหรับการศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบธุรกิจเงินกู้นอกระบบ ผู้ประกอบธุรกิจมีความเห็นว่าสถานประกอบธุรกิจเงินกู้นอกระบบ มีทั้งข้อดี ข้อเสียและอยากให้มองแยกเป็นกลุ่มระหว่างเจ้าหนี้เถื่อนกับเจ้าหนี้ที่มีสถานประกอบการชัดเจนเพราะมีลักษณะ วิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนะ เห็นว่าควรแก้ไขส่งเสริมข้อกฎหมายในการควบคุมธุรกิจเงินกู้นอกระบบรวมถึงให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาในการวางแผนทางการเงินเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

 

Attitudes toward Informal Debt in Term of Personal Loans of Residents in Hat Yai, Songkhla Province

The purpose of this study wasto explore theattitudes of an informal debtor and a non-informaldebtor including attitudes toward informal debt, an informal debtor, andaninformal debt creditor;as well as to comparethe attitudes by individual factors and the informal debt information. The questionnaire was used as an instrument of data collection. The method of data analysis was the descriptive statistics and t-test. The creditors’ attitudes were gatheredby using the in-depth interview andthen interview transcripts were analyzed using content analysis techniques. The results revealedthat informal debtor’s attitudes toward informal debt was informal debt was easier and more convenient than loaning from financial institutions. While the informal debtors and non-informal debtor’s attitudes toward informal debtor and informal debt business were that the loan was necessary in order to manage debtor’s business cycle even though the informal debt system was harmful to the society. In addition, the results of study from in-depth interview showed that, most interviewees believed informal debt business and financial institution has both advantages and disadvantages. They mentioned that it wouldbe better if there is a law and a policy related to informal debt. Moreover, they would like to be separated from illegal informal debt providers because their characters and loan processes are different from that of illegal informal debt providers. The recommendation is to improve laws and policies to control informal debt business process and to provide knowledge about financial planning for Hat Yai residents.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)