ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต

ผู้แต่ง

  • รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร
  • อรวมน ศรียุกตศุทธ
  • จงจิต เสน่หา
  • นพพร ว่องสิริมาศ

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง / โรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต/ คุณภาพชีวิต Pre-dialysis / Chronic kidney disease / Quality of life

บทคัดย่อ

Purpose: To examine the factors influencing quality of life in pre- dialysis chronic kidney disease  patients, i.e. age, gender, glomerular filtration rate, depression, physical function, and general health perceptions.

Design: Correlational predictive study

Methods: The sample comprised 100 pre-dialysis patients who came to receive services at the Kidney Disease Clinic, Out Patient Department, Suranaree Hospital, Nakhonratchasima Province. The subjects were selected by means of convenience sampling. Data were collected by questionnaires on demographic data, the Center for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D), the Karnofsky Performance Scale (KPS), the Four Item Self- Rate Health Scale, WHO Quality of  Life - BREF (Thai) and the Thai Mental State Examination (TMSE). Descriptive statistics and multiple regressions were used to analyze the data.

Main findings: The sample group’s average age was 69.37 years old (SD = 11.67), 51% were males, and 18% had developed depression.  In terms of physical function, the sample group was at a level where they could not work but were able to stay at home and required help from other people (Median = 70, M=73.10, SD= 10.89).  In terms of general health perceptions, the sample group’s average score was at a moderate level (M= 7.54,       SD = 1.97).  As for quality of life, the sample group’s average score was at a moderate level (M=93.07, SD = 8.66). According to the results of the multiple regression analysis, all of the independent variables explained 32.3% of the variance in quality of life (R2 = .323,              F(6, 93) = 7.409) at a statistical significance (p = .000). The only factor found to affect quality of life with statistically significant level was depression (β =-.390, p = .000).

Conclusions and recommendations: Health care teams who take care of pre-dialysis chronic kidney disease patients should be aware of the importance of evaluating quality of life and screen for depression in order to promote good quality of life. In doing so, this group of patients can adapt to prolonged illness and treatment while maintaining good health.

 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ได้แก่ เพศ อายุ อัตราการกรองของไต ภาวะซึมเศร้า ภาวะการทำหน้าที่ทางกาย และการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไต แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามภาวะการทำหน้าที่ทางกาย แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวม แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 69.37 ปี (SD=11.67)  ร้อยละ 51 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 18 ภาวะการทำหน้าที่ทางกายโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ไม่สามารถทำงานได้แต่สามารถอยู่ที่บ้านได้ มีบางกิจกรรมที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น (Median= 70, M=73.10, SD= 10.89) มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 7.54, SD= 1.97) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 93.07, SD= 8.66) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุพบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 32.3  (R2 = .323,  F(6, 93) = 7.409) (p = .000) โดยภาวะซึมเศร้าเป็นปัจจัยเพียงปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.390, p = .000)

สรุป และข้อเสนอแนะ ทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตควรตระหนักถึงความสำคัญในการประเมินคุณภาพชีวิต และคัดกรองภาวะซึมเศร้า เพื่อนำไปสู่การวางแผนการดูแลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ให้สามารถปรับตัวอยู่กับการดำเนินโรค การรักษาที่ยาวนาน และมีสุขภาวะที่ดีต่อไป

Downloads