ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและ พฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขตกรุงเทพและปริมณฑล The Effects of a Cognitive-Behavioral Therapy Program on the Depression And Impulsivity Among Adolescents in Juvenile

ผู้แต่ง

  • จันทิรา เมฆวิลัย
  • นิตยา ตากวิริยะนันท์
  • สารรัตน์ วุฒิอาภา

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนอาจเกิดจากความคิดทางลบ ความคิดที่ไร้เหตุผล และการขาดทักษะทางสังคมที่สำคัญโดยเฉพาะขาดการควบคุมตนเอง การช่วยเหลือเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของวัยรุ่นที่กระทำความผิด กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางถึงรุนแรงที่สามารถเข้าร่วมกลุ่มบำบัดได้ และมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นระดับน้อยถึงปานกลาง จำนวน 60 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรม จำนวน 10 ครั้ง และการดูแลตามปกติของศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับเอกสารความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น และการดูแลตามปกติของศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน การประเมินผลโดยใช้แบบสอบถาม วัดผล 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสิ้นสุดทันที และหลังการทดลองสิ้นสุด 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) และสถิติทดสอบที (t-test)

                ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองสิ้นสุดทันที และหลังการทดลองสิ้นสุด 4 สัปดาห์ ต่ำกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ       (p<.05)

                ผลการศึกษานี้สนับสนุนว่าโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมสามารถลดภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรม                  หุนหันพลันแล่นของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนได้ และควรขยายผลเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01