ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเกิดโรค และพฤติกรรมการ ป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ์ ประสานสอน
  • พรเทพ แพรขาว

คำสำคัญ:

perception of risk, prevention behaviors, persons at risk, acute stroke

บทคัดย่อ

Abstract

This study employed descriptive research to investigate the correlation between perceptions of risk to have acute stroke with related preventive behaviors among people who are at risk. Target population was people who received care at accident and emergency outpatient unit at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. This study was conducted from March to September 2013. Purposive sampling technique was used to select 140 subjects into the study. Research instruments included: 1) acute stroke risk perception questionnaire that had a content validity index (CVI) of 0.89 and reliability score of 0.81 and 2) acute stroke related preventive behavior questionnaire that had a CVI of 0.84 and reliability score of 0.79.  Findings demonstrated that people who are at risk for acute stroke had overall perceptions of their risk for having stroke at high level. However, when considering dimensionally, the perceptions of disease complications and severity of disease were high whereas, the perceptions of treatment and prevention benefi  ts, barriers, and motivation to action were low. The overall preventive behaviors among at risk group were high. Nevertheless, only diet control, exercise, medication taking, and stress management behaviors were at high level. Medical follow-up behavior was at moderate level. Additionally, it was found that perceptions of having acute stroke risk was positively highly related with acute stroke preventive behaviors (r= 0.61, p< .05) among this group. This study suggested that healthcare provider should develop intervention for clients who have risk for stroke to improve their perceptions of treatment and prevention benefi  ts, barriers, and motivation to action aiming to improve their preventive behaviors, especially for medical follow-up.

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเกิดโรค กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคในบุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มารับบริการที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการศึกษาระหว่าง เดือนมีนาคม ถึง กันยายน 2555 จากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจงจำนวน 140 ราย มีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามการรับรู้ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ  0.89 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ  0.84 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79

ผลการวิจัย  พบว่า การรับรู้การเกิดโรคหลอดเลือดสมองของบุคคลกลุ่มเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการรับรู้ความรุนแรงของโรค อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการรักษาและป้องกัน การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ถึงสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ อยู่ในระดับต่ำ สำหรับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันของบุคคลกลุ่มเสี่ยง โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าพฤติกรรมด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา และการจัดการความเครียด อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการมาตรวจตามนัด อยู่ในระดับปานกลาง  นอกจากนี้ยังพบว่า การรับรู้การเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันของบุคคลกลุ่มเสี่ยงในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.61, p< .05)

การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า บุคลากรสุขภาพ ควรมีการให้คำแนะนำที่มุ่งปรับเปลี่ยนการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการรักษาและป้องกัน การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ถึงสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ในกลุ่มผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการมาตรวจตามนัด 

Downloads