ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง/ป้องกันการพลัดตกหกล้ม “I’M SAFE” Effectiveness of Fall Monitoring/Prevention Guideline “I’M SAFE”

ผู้แต่ง

  • นันธิดา พันธุศาสตร์
  • สุรีพร กุมภคาม
  • วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์
  • กนกกานต์ วงศ์แสนสี

คำสำคัญ:

การพลัดตกหกล้ม ความปลอดภัย แนวปฏิบัติ Fall, Safety, Guideline

บทคัดย่อ

Abstract

This comparative retrospective and prospective uncontrolled before and after intervention study aimed to examine the effects of  fall monitoring/prevention guideline on nurses’ clinical risk knowledge and incidence of fall in female medical ward, Noparatrachthani Hospital. A purposive sampling were all of 30 registered nurses who worked in female medical ward and patients who were admitted in female medical wards. The retrospective group was collected data between May 2010 and April 2011 and  the prospective group was collected data between May 2011 and April 2012. Research tools composed of Fall Risk Assessment developed from Hendrich II Fall Risk Model and handbook for fall risk patients. Content validity of the Fall Risk Assessment and handbook were approved by three experts. Another research tool was  nurses’ clinical risk knowledge of Phongpan Thana, the internal consistency reliability by KR-20 was 0.98. Data were analyzed by percentage of fall.

The findings reveal that 1) score of nurses’ clinical risk knowledge before and after using guideline were not different. 2) falling rate of the prospective group was lower than the retrospective group.

Fall monitoring/prevention guideline will be useful in clinical risk management for fall prevention.

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) แบบ Retrospective and Prospective Uncontrolled before and after Intervention Study เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติปฏิบัติการเฝ้าระวัง/ป้องกันการพลัดตกหกล้ม ต่อความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเรื่องการบริหารความเสี่ยงทางคลินิก และอุบัติการณ์การหกล้มและตกเตียงในหอผู้ป่วย อายุรกรรมหญิงสามัญ โรงพยาบาลนพรัตราชธานี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงสามัญจำนวน 30 คน และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงสามัญ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม 2553-เมษายน 2554 และกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มพัฒนาจาก Hendrich II Fall Risk Model และคู่มือการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม หาความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และแบบสอบถามความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเรื่องการบริหารความเสี่ยงทางคลินิก ของผ่องพรรณ ธนา  หาความเชื่อมั่นโดยหาความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกด้วย KR-20 ได้ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ และร้อยละของการพลัดตกหกล้ม

ผลการวิจัยพบว่า

1.คะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง/ป้องกันการพลัดตกหกล้ม “I’M SAFE” หลังการใช้แนวปฏิบัติไม่แตกต่างกัน

2.อัตราการตกเตียงของผู้ป่วย หลังการใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง/ป้องกันการพลัดตกหกล้ม “I’M SAFE”ต่ำกว่าก่อนใช้แนวทางปฏิบัติ

การใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง/ป้องกันการพลัดตกหกล้ม มีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มได้

Downloads