ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในตำบลสนามชัย จังหวัดสุพรรณบุรี Factors Predicting Health promoting behaviors of village health volunteers at Tambon Sanamchai, Suphanburi Province

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย มณีวงษ์

คำสำคัญ:

Health promotion, Factors Predicting, village health volunteers

บทคัดย่อ

The village health volunteer is important role in health push in the community for decreases the

risk builds  chronic disease occurrence and are quality of life development that are appropriate.

The purpose of this study were to assess the behavior encourages the health and study predicting

education, perceived health status , experience of the village health volunteer , perceive benefits,barriers  and self-efficacy and health promoting behaviours at Tambon Sanamchai, Suphanburi Province. This study used a predictive research design with a sample of 97 village health volunteer participants. Descriptive statistics, Pearson’s product moment correalation coefficient, and multiple stepwise regressions. The results showed that:

  1. Overall health promoting behaviors of village health volunteers was at a good  level (=3.47,

S.D.=.35) When consideration of each aspect health responsibility ( =3.50, S.D. =.47) Physical activity ( =3.19, S.D. =.59) Nutrition ( =3.42, S.D. =.59) Interpersonal relations ( =3.65, S.D. = .40) Spiritual growth ( =3.60, S.D. = .41)   ( =3.47, S.D. = .52)

  1. The perceived self-efficacy showed statistically significant moderate positive correlation to health

promoting bahaviors of the village health volunteers at .001 level (r = .349). Perceived benefits of action showed statistically significant low positive correlation to health promoting bahaviors of the village health volunteers at .05 level (r = .245).

  1. The perceived self-efficacy,and perceived self-efficacy can predic the health promoting behaviors

of the village health volunteers  at  23.4 percent (P < 0.001,.05,respectively).

the suggestion from the research result the perceived self-efficacy has the relation and can can predict most , and perceived benefits of action next. Thus should have planning strategy , encourage the activity , the conspiracy operates that help to encourage give permanent village volunteer acknowledges the capacity of oneself , and advantage acknowledgement , in operating is supposed to activity arrangement continuously and for develop to encourage good health next

 

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและศึกษาอำนาจการทำนาย การศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการรับรู้สมรรถนะของตนเองกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลสนามชัย จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรคและสมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีคะแนนเฉลี่ยของ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับ

ดี  ( =3.47, S.D.=.35) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (= 3.50, S.D. =.47) ด้านกิจกรรมทางกาย ( = 3.19, S.D. =.59) ด้านโภชนาการ (=3.42, S.D. =.59) พฤติกรรมด้านสัมพันธภาพ (=3.65, S.D. = .40) ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ (=3.60, S.D. = .41) ด้านการจัดการกับความเครียด ( =3.47, S.D. = .52)

  1. การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปาน

กลางกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = .349) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = .245)

  1. การรับรู้สมรรถนะของตนเอง (P < 0.001) รองลงมาคือ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ภาวะสุขภาพ(P < 0.05)

โดยตัวแปรทั้งสามร่วมกันสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 23.4

ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยในครั้งนี้ คือ การรับรู้สมรรถนะของตนเองมีความสัมพันธ์และสามารถทำนายได้มากที่สุด และการรับรู้ประโยชน์รองลงมา ดังนั้นควรจะมีการวางแผนกลยุทธ์ ส่งเสริมกิจกรรม แผนการดำเนินงานที่ช่วยส่งเสริมให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านรับรู้สมรรถนะของตนเอง และการรับรู้ประโยชน์ ในการดำเนินงานควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเพื่อพัฒนาส่งเสริมสุขภาพที่ดีต่อไป

Downloads