การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี Development of Model Transfer Capability for Critically Ill Patients at Natan Hospital, Natan District, Ubonratchathani Province

ผู้แต่ง

  • จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์
  • มยุนา ศรีสุภนันต์
  • สุรีย์ จันทรโมรี
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ

คำสำคัญ:

รูปแบบ การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลนาตาล จังหวัดอุบลฯโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของของสเตตเลอร์ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงคือพยาบาลวิชาชีพ เวชกิจฉุกเฉิน รวม 30 คน ระยะเวลาศึกษาเดือนกุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้และทักษะการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย  2) แบบประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการส่งต่อผู้ป่วย 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการต่อรูปแบบ 4)แบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบ ซึ่งตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติเชิงอนุมานสำหรับเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนของความรู้และทักษะระหว่างก่อนและหลังโดยใช้สถิติทดสอบที (Paired  t-test) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า มีการพัฒนาผ่านกระบวนการ 2 วงจร ได้รูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตเป็นรูปแบบไอชียูเคลื่อนที่ (Mobile ICU) โดยรูปแบบประกอบด้วย 1) การฝึกอบรมเพิ่มความรู้และทักษะพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต          2) การกำหนดทีม Mobile ICU 3) การกำหนดข้อบ่งชี้ที่ต้องใช้รถและพยาบาล  4) การจัดอุปกรณ์และรถให้เพียงพอพร้อมใช้มีอุปกรณ์ติดตามสัญญาณชีพแบบ Real Time Telemedicine  5) การจัดทำมาตรฐานต่างๆและตั้งศูนย์ส่งต่อ 6) การกำหนดขั้นตอนส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต 3 ระยะ ได้แก่ 1) การดูแลก่อนการส่งต่อ 2) การดูแลระหว่างส่งต่อ 3) การจัดการหลังส่งต่อ หลังพัฒนาได้นำรูปแบบไปใช้กับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตทั้งหมด 450 ราย พบว่าการส่งต่อมีการดูแลที่มีคุณภาพมาตรฐานและเหมาะสมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.5 เป็นร้อยละ 98.50 มีทีมพยาบาลผ่านการฝึกการดูแลผู้ป่วยวิกฤตให้การดูแลและส่งต่อผู้ป่วยปลอดภัยไม่พบอุบัติการณ์การเสียชีวิต บุคลากรและญาติมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก (=70.17, SD= 2.18) ก่อนพัฒนามีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย (=34.58, SD=4.21) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้และทักษะการปฏิบัติการส่งต่อก่อนและหลังการพัฒนา พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ข้อเสนอแนะควรพัฒนาแนวทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วยวิกฤตเฉพาะรายโรคเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลและมีผลลัพธ์คุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29