พฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา Communication Behavior among Professional Nurses at General Hospital in Phayao Province

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี ศรีวิชัย
  • กันติยา ลิ้มประเสริฐ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสื่อสาร พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การสื่อสารทางการพยาบาลมีความสำคัญต่อผลลัพธ์การปฏิบัติทางการพยาบาล การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา จำนวน 209 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มแบ่งชั้น พฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพประเมินโดยใช้แบบสอบถามซึ่ง ประกอบด้วย พฤติกรรมการสื่อสารระหว่างพยาบาลกับพยาบาล  พยาบาลกับผู้ป่วยหรือบุคคลในครอบครัว และพยาบาลกับสหสาขาวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

        ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งระหว่างพยาบาลกับพยาบาล                     ( = 3.93, SD = 0.55) พยาบาลกับผู้ป่วย (  = 4.04, SD = 0.62) และพยาบาลกับสหสาขาวิชาชีพ (  = 4.00, SD= 0.54)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะการสื่อสารของพยาบาลที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดระหว่างพยาบาลกับพยาบาล และพยาบาลกับสหสาขาวิชาชีพ คือ การให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน (  = 3.90, SD = 0.53 และ  = 3.99, SD = 0.56 ตามลำดับ) ขณะที่ทักษะการสื่อสารระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย คือ การรับข้อมูลข่าวสารที่ปราศจากการลำเอียง (  = 4.02, SD = 0.54) ผลจากการศึกษานี้สนับสนุนว่าผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะทักษะการให้ข้อมูลข่าวสารทางการพยาบาล นอกจากนี้สถาบันการศึกษาพยาบาล ควรมีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการสื่อสารสำหรับพยาบาล   

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29