การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำในหญิงตั้งครรภ์หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลPerception and Preventive Behaviors of Recurrent Preterm Labouramong Pregnant Women After Hospital discharge

ผู้แต่ง

  • อทิตยา สุวรรณสาร
  • นิลุบล รุจิรประเสริฐ

คำสำคัญ:

การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เคยเข้ารับการรักษาโดยการให้ยาเพื่อยับยั้งการคลอดเป็นผลสำเร็จ และได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล จำนวน 85 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และแบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .96 และ .97 ตามลำดับ และคำนวณหาค่าความเที่ยงโดยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาช เท่ากับ  .93 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี                                               ( = 3.16, SD = 0.08) พฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำของหญิงตั้งครรภ์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี                    ( = 3.29, SD = 0.17)  และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .337

ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ควรส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และการสร้างแรงจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง ในการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอย่างถูกต้องเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28